การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาไมโสพรอสตอล ขนาด 400 และ 600 ไมโครกรัม เหน็บทางช่องคลอดในการยุติการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ปฏิพล สันธนาคร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น จากการใช้ยาไมโสพรอส ตอล ขนาด 400 และ 600 ไมโครกรัม เหน็บทางช่องคลอดในการทำให้เกิดการแท้งครบในหญิงตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 20 สัปดาห์
ชนิดของการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองที่แบ่งตัวอย่างโดยการสุ่มทางเดียว
สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลศรีสะเกษ
วัสดุและวิธีการ: หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 89 ราย ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้ รับความเห็นชอบให้ยุติการตั้งครรภ์จากแพทย์ผู้ดูแลรักษา และได้รับความยินยอมจากหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง 44 ราย เหน็บไมโสพรอสตอล ทางช่องคลอด ขนาด 200 ไมโครกรัม จำนวน 2 เม็ด (400 ไมโครกรัม ทุก 6 ชั่วโมง 3 ครั้ง) กลุ่มที่สอง 45 ราย เหน็บไมโสพรอสตอลทางซ่องคลอด จำนวน 3 เม็ด (600 ไมโครกรัม ทุก 6 ชั่วโมง 3 ครั้ง) สังเกตและประเมินผล ภายใน 24 ชั่วโมง
ตัววัดที่สำคัญ : อัตราการแท้งครบ และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ไมโสพรอสตอล ขนาด 400 และ 600 ไมโครกรัม เหน็บทางช่องคลอด ใน 24 ชั่วโมง
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในลักษณะข้อมูลพื้น ฐานทั่วไปของกลุ่มที่ทำศึกษาวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่เหน็บยาไมโสพรอสตอล ขนาด 400 ไมโครกรัม มีอัตราแท้งครบใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 40.91 ต่ำกว่ากลุ่มที่ใช้ยาไมโสพรอสตอล ขนาด 600 ไมโครกรัม ซึ่งมีอัตราแท้งครบ ร้อยละ 62.29 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาการ ข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา เช่น ไข้, ปวดท้องน้อย, เลือดออกมากทางซ่องคลอด, ถ่าย เหลวไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่ทำการศึกษาวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม
สรุป: ไมโครพรอสตอล เหน็บทางซ่องคลอด ขนาด 600 ไมโครกรัม ทุก 6 ชั่วโมง 3 ครั้ง สามารถทำให้เกิดแท้งครบได้สูงกว่า ขนาด 400 ไมโครกรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่อาการ ข้างเคียงจากการใช้ยาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Cunningham FG, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap LC III, Hauth JC, Wenstrom KD. Williams Obstetrics. 21th ed. New York:McGraw-Hill; 2001 : 855-82.

วิรัช วิศวสุขมงคล. การแท้ง. ใน : ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ศักนัน มโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, กระเษียร ปัญญาคำเลิศ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพๆ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2548. หน้า 273-86.

Hughes J, Ryan M, Hinshaw K, Henshaw R, Rispin R, Templeton A. The costs of treating miscarriage : a comparison of medical and surgical management. Br J Obstet Gynaecol 1996 ; 103 : 1217-21.

Norman JE, Thong KJ, Baird DT. uterine contractility and induction of abortion in early pregnancy by misoprostol and mifepristone. Lancet 1991 ; 338 : 1233-6.

Barbosa RM, Arilha M. The Brazilian experience with Cytotec. Stud Fam Plann 1993 ; 24 : 236-40.

Bugalho A, Bique C, Almeida L, Fauades A. The effectiveness of intravaginal misoprostol (cytotec) in inducing abortion after eleven weeks of pregnancy. Stud Fam Plann 1993 ; 24 : 319-23.

Carbonell JL, Velazco A, Varela L, Tanda R, Sanchez C, Barambio S, et a I. Misoprostol for abortion at 9-12 weeks’ gestation in adolescents. Eur J Contracept Reprod Health Care 2001 ; 6 : 39-45.

Carbonell JL, Varela L, Velazco A, Tanda R, Barambio S, Chami S. Vaginal misoprostol 600 micrograms for early abortion. Eur J Contracept Reprod Health Care 2000 ; 5 : 46-51.

Creinin MD, Moyer R, Guido R. Misoprostol for medical evacuation of early pregnancy failure. Obstet Gynecol 1997 ; 89 : 768-72.

Zalanyi S. Vaginal misoprostol alone is effective in the treatment of missed abortion. Br J Obstet Gynaecol 1998 ; 105 : 1026-8.

Nqai SW, Chan YM, Tang OS, Ho PC. Vaginal misoprostol as medical treatment for first trimester spontaneous miscarriage. Hum Reprod 2001 ; 16 : 1493-6.

Srisomboon J, Pongpisuttinun S. Efficacy of intracervicovaginal misoprostol in second-trimester pregnancy termination : a comparison between live and dead fetuses. J Obstet Gynaecol Res 1998; 24 : 1-5.

Herabutya Y, Prasertsawat P. Second trimester abortion using intravaginal misoprostol. Int J Gynaecol Obstet 1998 ; 60 ะ 161-5.

Herabutya Y, Chabrachakul B, Pun yavachira P. Second trimester pregnancy termination: a comparison of 600 and 800 micrograms of intravaginal misoprostol. J Obstet Gynaecol Res 2001 ; 27 : 125-8.

Wong KS, Ngai CS, Wong AY, Tang LC, Ho PC. Vaginal misoprostol compared with vaginal gemeprost in termination of second trimester pregnancy. A randomized trial. Contraception 1998 ; 58 : 207-10.

Kovavisarach E, Sathapanachai U. Intravaginal 400 micrograms misoprostol for pregnancy termination in cases of blighted ovum: a radomised controlled trial. Aust N Z J Obstet Gynaecol 2002 ; 42 : 161-3.

Jain JK, Kuo J, Mishell DR Jr. A comparison of two dosing regimens of intravaginal misoprostol for second-trimester pregnancy termination.Obstet Gynecol 1999 ; 93 : 571-5.

Zieman M, Fong SK, Benowitz NL, Banskter D, Darney PD. Absorption kinetics of misoprostol with oral or vaginal administration. Obstet Gynecol 1997; 90 : 88-92.