ผลการศึกษาการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ปฏิพล สัยธนาคร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาประสิทธิภาพของการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ในสตรีที่ตรวจพบ ความผิดปกติของปากมดลูก โดยมีผลทางพยาธิวิทยาเป็น cervical intraepithelial neoplasia (CIN)
รูปแบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
สถานที่ทำวิจัย: โรงพยาบาลศรีสะเกษ
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาโดยทบทวนประวัติสตรีที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาโดยการตัดปาก มดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) จำนวน 89 ราย โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรี ที่มีผลการตรวจ pap smear ผิดปกติ และได้รับการยืนยันการวินิจฉัยจากชิ้นเนื้อที่ได้จาก การตัดภายใต้ กล้องคอลโปสโคป ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 31 พฤษภาคม 2554 โดยเก็บข้อมูลอายุ อาขีพ จำนวนการตั้งครรภ์ ข้อบ่งชี้ในการทำ LEEP และผลการ ตรวจ ทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่ได้จากการทำ LEEP จากแบบฟอร์มการบันทึกสำหรับ การตรวจ และการรักษาโดย Colposcope / LEEP
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าในผู้ป่วย 89 ราย ที่มารับการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ใน ช่วงเวลาดังกล่าว มีอายุเฉลี่ย 45.5 ปี (25-72 ปี) พยาธิสภาพของปากมดลูกที่พบมากที่สุด คือ CIN III พบ 55 ราย (65.17%) CIS พบ 14 ราย (15.73%) AIS พบ 1 ราย (1.12%) AIS ที่พบร่วมกับ CIS พบ 2 ราย (2.24%) กาicroinvasive squamous cell carcinoma 2 ราย (2.24%) invasive squamous cell carcinoma 2 ราย (2.24%) และ invasive adenocarcinoma in 1 ราย (1.12%) ผู้ป่วยทั้ง 3ราย ได้รับการส่งตัวไปรับการรักษาต่อที่ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคมะเร็ง จังหวัดอุบลราชธานี จากผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่ได้จากการทำ LEEP ไม่พบเซลล์ผิดปกติที่ชอบชิ้นเนื้อทั้งหมด 65 ราย (73.03%) และพบเซลล์ผิดปกติที่ ขอบชิ้นเนื้อ ทั้งหมด 24 ราย (26.97%) ผู้ป่วย CIN3 unfree margin 10 ราย CIS ทั้ง free margin และ unfree margin จำนวน 14 ราย AIS 1 ราย และผู้ป่วย AIS ที่พบร่วมกับ CIS ทั้ง free margin และ unfree margin จำนวน 2 ราย ได้รับการรักษาต่อโดยการผ่าตัด มดลูก
สรุป: การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ในการให้การ วินิจฉัย และการรักษาสตรีที่มีความผิดปกติของปากมดลูกที่มีผลพยาธิวิทยาเป็น cervical intraepithelial neoplasia (CIN)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ. Cervical cancer : update and practice guideline. ใน: สมขาย สุวัจนกรณ์, สุวิทย์ บุญยะเวชชีวิน, วิสันต์ เสรี ภาพงศ์, บรรณาธิการ. 0B & GYN practice& update 2001: ภาควิขาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544. หน้า 309-22.

ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์, วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ. เนื้องอกและมะเร็งปากมดลูก. ใน: สมมชัย นิรุตติศาสน์, นเรศร สุขเจริญ, สุรางค์ ตรีรัตนชาติ, วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ, วิสันต์ เสรีภาพงศ์. บรรณาธิการ. ตำรานรีเวชวิทยา. พิมพ์ ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2548. 173-205.

วิรัช วุฒิภูมิ. การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ใน: สมชัย นิรุตติศาสน์, ดำรง ตรีสุโกศล, วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ, เรืองศักดิ์ เลิศขจรสุข, สุรางศ์ ตรีรัตน์ชาติ, ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ และคณะ. คู่มือการอบรมระยะสั้น Colposcopy. กรุงเทพฯ. คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2544. 69-80.

วรัช วุฒิภูมิ, สายบัว ชี้จริญ, รักชาย บุหงาชาติ. การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าและกล้องคอลโปสโคป. สงขลานครินทร์เวชสาร 2542; 17:133-8

Mathevet P, Dargent D, Roy M, Beau G. A randomized prospective study comparing three techniques of conization: cold knife, laser, LEEP. Gynecol Oncol 1994;54:175-9.

Duggan BD, Felix JC, Muderspacn LI, Gebhardt JA, Groshen S, Morrow CP, Roman LD. Cold-knife conization versus conization by the loop electrosurgical excision procedure : a randomized, prospective study. Am J Obstet Gynecol 1999;180:276-82.

Girardi F, Fleydarfadai M, Koroschetz F, Pickel H, Winter R. Cold-knife conization versus loop excision : histopathological and clinical result of a randomized trial. Gynecol Oncol 1994;55:368-70.

สมบัติ ศักดิ์สง่าวงษ์. การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า (LEEP) ศูนย์มะเร็งอุดรธานี. วารสารการแพทย์กลุ่มเครือข่าย 6/2 2546;11:97-105

ฉันทวัฒน์ เชนะกุล, สุมนมาลย์ มนัสศิริวิทยา, ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล, นันทนา แก้วพิลา, สุระ โฉมแฉล้ม. ความสำคัญทางคลินิกของขอบชิ้นเนื้อจากการตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยโดยใช้กระแสไฟฟ้า. วชิรเวชสาร 2545;46:179-86.