การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังในผู้ป่วยเด็กโรคเยื่อบุจมูกอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ จากภูมิแพ้ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังและหอบหืด ที่โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์

Main Article Content

ศรายุทธ ทองหล่อ

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ปัจจุบันสารก่อภูมิแพ้ทั้งในบ้านและนอกบ้านเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภูมิแพ้ ในจังหวัดสุรินทร์ยังไม่มีการศึกษาถึงอัตราความชุก ชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ก่อให้เกิดโรค การศึกษาถึงอุบัติการณ์ของผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังจึงมีความสำคัญในด้านเป็นข้อมูลพื้นฐาน สาเหตุ เพื่อวางแผนการรักษาโรคภูมิแพ้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้ฃนิดต่างๆในผู้ป่วยเด็ก ที่เป็นโรคเยื่อบุจมูก เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังและหอบหืด โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยโดยสังเกตเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง
วิธีดำเนินการศึกษา: คนไข้เด็กที่มีอาการเข้าได้กับโรคเยื่อบุจมูกอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ จากภูมิแพ้ ผื่นภูมิแพ้ ผิวหนังและหอบหืด จำนวน 173 ราย อายุ 1 ปี 2 เดือน ถึงอายุ 15 ปี ทำการทดสอบภูมิแพ้ ผิวหนัง (Skin prick test) ต่อนํ้ายาสกัดภูมิแพ้สำหรับการวินิจฉัย เพื่อหาอัตราความชุก
ผลการศึกษา: คนไข้เด็กโรคภูมิแพ้ในการศึกษานี้ทั้งหมด 173 คน เป็นเพศขาย ร้อยละ 64.74 (112คน) เพศหญิงร้อยละ 35.26 (61คน) อายุเฉลี่ย 8.43 ปี ให้ผลบวกการทดสอบทางผิวหนังต่อนํ้ายาทดสอบภูมิแพ้อย่างน้อยหนึ่งชนิดมีจำนวน 74.6% (129ราย) โดยสารก่อภูมิแพ้ที่ให้ผลบวกมากที่สุดคือ Dermatophagoides pteronyssinus (60.7%) รองลงมาได้แก่ Dermatophagoides farinae (56.6%) mixed cockroach (47.4%) Johnson grass (37.0%) Bermuda grass (30.1%) Cat (18.5%) Dog (7.5%) และmold (4.6%) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการให้ผลบวกต่อละอองเกสรหญ้าคืออาการของ allergic conjunctivitis (odd ratioเท่ากับ 4.350)และ allergic rhinoconjunctivitis (odd ratio เท่ากับ 2.650)
สรุป: อุบัติการณ์ของผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังต่อน้ำยาทดสอบภูมิแพ้อย่างน้อยหนึ่งชนิดในผู้ป่วยเด็กโรคภูมิแพ้ที่โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดสุรินทร์เท่ากับ 74.6% สารก่อภูมิแพ้ห้าอันดับแรกที่ให้ผลบวกสูงสุดคือ Dermatophagoides pteronyssinus (60.7%) Dermatophagoides farina (56.6%) mixed Cockroach (47.4%) Johnson grass (37.0%) Bermuda grass (30.1%) การศึกษานี้พบว่า อาการของโรค Allergic conjunctivitis และ Allergic Rhinoconjunctivitis เป็นปัจจัยเสี่ยงของการให้ผลการทดสอบเป็นบวกต่อละอองเกสรหญ้าอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Vichayanond P, Jirapongsananuruk O, Visitsuntorn N, Tuchinda M. Prevalence of asthma, rhinitis and eczema in children from the Bangkok area using 7 the ISAAC (International Study for Asthma and Allergy in Children) questionnaires. J Med Assoc Thai. 1998; 81:175-84

ศรายุทธ ทองหล่อ, จรุงจิตร งามไพบูลย์. ความชุกของโรคภูมิแพ้ของประชากรเด็กในจังหวัดสุรินทร์. ขอนแก่นเวชสาร 2552; 32:3:392-9.

The International study of Asthma and Allergies in Childhood (ISAAC) steering committee. Worldwide variations in The prevalence of asthma symptoms: the international study of Asthma and Allergies in Childhood (ISAAC). Eur Respir J 1998;12:315-35.

National Heart, Lung and blood Institute. Global Initiative for Asthma. National Institute of Health publication number 95-3659, Bethesda, Marryland, January 1995.

Murray AB, Ferguson AC. Dust-free bedroom in the treatment of asthmatic children with house dust or house dust mite allergy a controlled trial. Pediatrics 1983;71:418-22.

American Academy and College of Allergy, Asthma and Immunology. Practice parameters for allergy diagnostic testing. Ann Allergy Asthma Immunol 1995;75:543-625.

Kidon Mi, See Y, Goh A, Chay OM, Balakrishnan A. Aeroallergen sensitization in pediatric allergic rhinitis in Singapore. Pediatr Allergy Immunol. 2004 Aug;15 (4):340-3.

Verini M, Rossi N, Verrotti A, Pelaccia G, Nicodemo A, Chiarelli F. Sensitization to environmental antigens in asthmatic children from a central Italian area. Sci Total Environ. 2001 Apr 10 10;270 (l-3):63-9.

Muthita Trakultivakorn. Prevalence of allergen skin test positivities in children with asthma and allergic rhinitis at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Thai J Pediatr. 2000;39(3):195-203

Aree Kongpanichkul. Pakit Vichyanond, Montri Tuchinda. Allergen skin test reactivities among asthmatic Thai children. J Med Assoc Thai. l997;80(2):69-75.

Aberg N, Engstrom I. Natural history of allergic diseases in children. Acta Paediatr Scand 1990;79206-11

Bener A, Safa W, Abdulhalik S, Lestrin- gant GG. An analysis of skin prick test reactions in asthmatics in a hot climate and desert environment. Allerg Immunol (Paris). 2002 Oct;34 (8):281-6.