การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม เพื่อลดความแออัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

วราภรณ์ เขมโชติกูร
เพ็ญพิศ นุกูลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

เหตุผลในการวิจัย: จากสภาพปัญหาความแออัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ 590 เตียง มีผู้รับบริการจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ 1,450 คน ทำให้เกิดความยากลำบากในการให้บริการเพื่อตอบสนองความคาด หวังของผู้ป่วยและญาติส่งผลต่อความพึงพอใจต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของผู้รับริการ เกิดปัญหาข้อร้องเรียนและการฟ้องร้อง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) เครือข่ายแบบมีส่วนร่วม
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
วิธีการศึกษา: มี 3 ระยะ ได้แก่ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนารูปแบบระบบคุณภาพบริการและศักยภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) แม่ข่าย 5 แห่ง เครือข่าย 17 แห่ง ร่วมทำแนวปฏิบัติรักษา พยาบาล จัดระบบรับ-ส่งต่อ ระบบสนับสนุน พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ประเมินผลใช้แบบประเมินความพึงพอใจ ข้อมูลผู้รับบริการที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และ PCU 22 แห่ง ระหว่างตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: พบว่า ด้านสภาพแวดล้อม ผู้บริหารทุกระดับผู้ปฏิบัติทุกภาคส่วน ร่วมสนับสนุนด้านปัจจัย นำเข้า การกำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม และบทบาทหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน ด้านกระบวนการสื่อสารนโยบายสู่การปฏิบัติสู่เป้าหมายร่วมกัน เชื่อมประสาน ข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยบริการ และ ด้านผลลัพธ์ พบความพึงพอใจของผู้รับบริการ PCU เพิ่มขึ้น ปี 2551 2552 และ 2553 ร้อยละ 91.79 92.50 และ 94.63 ส่วนความพึงพอใจของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เพิ่มขึ้น ปี 2551 2552 2553 ร้อยละ 77.47 78.70 และ 80.53 จำนวนครั้งของผู้รับบริการที่ PCU เพิ่มขึ้นปี 2551 2552 และ 2553 คือ 2.07 2.83 และ 3.15 ครั้ง/คน/ปี อัตราผู้รับบริการของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ที่อยู่เขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ลดลงปี 2551 2552 และ 2553 ร้อยละ 52.15 51.74 และ 51.22
สรุป: การพัฒนาระบบคุณภาพบริการและศักยภาพ PCU ภายใต้ความร่วมมือร่วมปฏิบัติของผู้บริหารทุกระดับ ผู้ปฏิบัติทุกภาคส่วนทำให้เกิดพลังในการพัฒนา สามารถเพิ่มอัตราการเข้าถึงและเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ จึงควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความศรัทธาแก่ประชาชนพร้อมทั้งควรพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนเครือข่าย จึงจะสามารถลดความแออัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. แนวทางการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2549: 15.

Scanlan CL, Scanlan C, Sheldon RL, Egan DF. Egan’s fundamentals of respiratory care. 6th ed. Louis : Mosby ; 1995.

พรเพชร ปัญจปิยะกุล, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุกัญญา เตชะโชควิวัฒน์. การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552 : 5

Yagan MB. Hospital-Acquired Pneumonia and Its Management. Critical Care Nursing Quarterly 1997. 20 (3) : 36-43.

ศิริพร แสงสว่าง. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการควบคุมการติดเชื้อต่อการปฏิบัติของบุคลากรทางสุขภาพ และอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/node/8227 [วันที่ 18 กรกฎาคม 2552] (2551).

ธฤติ สารทศิลป์. ผลกระทบการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาล ด้านการควบคุมการติดเชื้อ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2551.

Power J. Managing VAP effectively to optimize outcomes and costs. Nursing Management; 2006;37: 48B-48F

Wiblin, RT. Nosocomail pneumonia. In Menzel RP. (Ed). Prevention and Control of Nosocomail Infections. (3rd ed.). Baltimore : Williams & Wilkins ; 1997 : pp. 807-9.

Rello J. Ollendort DA. et al. Epidemiology and outcomes of ventilator-associated pneumonia in a large us database. Chest; 2002 : 122:2215-21.

Centers for Disease Control and Prevention, CDC. Guidelines for preventing health-care associated pneumonia. MMWR : 2003: 53: 1-36.

Dodek PD., et al. Evidence-based clinical practice guideline for the prevention of ventilator-associated pneumonia. Annals of Internal Medicine : 2004: 141: 305-13.

Kollef MH. The prevention of ventilator- associated pneumonia. The New England Journal of Medicine : 340: 627-34.

จุไร ประธาน. ปัจจัยการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. [ออนไลน์]. 2550 [สืบค้น 18 กรกฎาคม 2552] ; เช้าถึงได้ที่ : URL: https://researchers.in.th/blog/sswhosabs/2347.

Schweickert WD, Gehlbach BK, Pohlman AS, et al. Daily interruption of sedative infusion and complication of critical illness in mechanically ventilated patients. Crit Care Med 2003 ; 32:1272-6.