ความถูกต้องของการวินิจฉัยไข้เดงกีเละไข้เลือดออกตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ของโรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สินชัย ตันติรัตนานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกเปรียบเทียบกับเกณฑ์ขององค์การ อนามัยโลก 2. เพื่อศึกษาอาการ, อาการแสดง ผลการตรวจเบื้องต้นและการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติ การของผู้ป่วยไข้เดงกี และไข้เลือดออกในอำเภอรัตนบุรี
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เดงกีหรือไข้เลือดออกในโรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2553 โดย วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไป อาการ การตรวจเบื้องต้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการและความถูกต้องการวินิจฉัยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก โดยแสดงข้อมูลในรูปแบบของ จำนวน และร้อยละ และใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: จากกการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัตนบุรีตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2553 ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไข้เดงกีและไข้เลือดออกมีจำนวนทั้งสิ้น 272 ราย เป็นเพศชาย 125 ราย (ร้อยละ 46.0) และเพศหญิง147 ราย (ร้อยละ 54.0) โดยมีอายุเฉลี่ย 14.5 + 11.7 ปี พบผู้ป่วยมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 11-15 ปี (ร้อยละ 35.7) รองลงมาจะอยู่ในช่วงอายุ 6-10 ปี (ร้อยละ 27.9) ได้รับวินิจฉัยเป็นไข้เดงกี (Dengue Fever: DF) จำนวน 235 ราย (ร้อยละ 86.4) และวินิจฉัยเป็นไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever: DHF) จำนวน 37 ราย(ร้อยละ 13.6) โดยในผู้ป่วยไข้เดงกีมีผลการตรวจเบื้องต้นและทางห้องปฏิบัติการดังนี้ อุณหภูมิร่างกาย 38 °c 81 ราย (ร้อยละ 34.5) มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย 47 ราย (ร้อยละ 20.0) มีอาการปวดกล้ามเนื้อ 7 ราย (ร้อยละ 3.0) มีผลตรวจ Tourniquet test เป็นบวก 175 ราย (ร้อยละ 74.5) มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว <5,000 เซลล์/ลบ.มม. 211 ราย (ร้อยละ 89.8) จำนวนเกล็ดเลือด < 100,000 เซลล์/ลบ.มม.168 (ร้อยละ 71.5 ราย) และฮีมาโตคริทเพิ่มจาก baseline มากกว่า 20% 147 ราย (ร้อยละ 62.5) ส่วนผู้ป่วยไข้เลือดออกมีผลการตรวจเบื้องต้นและทางห้องปฏิบัติการเป็นดังนี้ อุณหภูมิร่างกาย;>38°c 16 ราย (ร้อยละ 43.2) มีอาการปวดปวดศีรษะร่วมด้วย 5 ราย (ร้อยละ 13.5) มีผลตรวจ Tourniquet test เป็นบวก 36 ราย (ร้อยละ97.3) จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว < 5,000 เซลล์/ลบ.มม. 32 ราย (ร้อยละ 86.5) เกล็ดเลือด <100,000 เซลล์/ลบ.มม. 34 ราย (ร้อยละ 91.9) และฮีมาโตคริทเพิ่มจาก baseline มากกว่า 20% 27 ราย (ร้อยละ 73.0) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในการวินิจฉัยไข้เดงกี และไข้เลือดออกมีผล การตรวจครบตามเกณฑ์ 226 ราย (ร้อยละ 96.2) และ 37 ราย (ร้อยละ 100) ตามลำดับ และมีผลการวินิจฉัยถูกต้องตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลกสำหรับไข้เดงกี 73 ราย (ร้อยละ 32.3) และไข้เลือดออก และ16 ราย (ร้อยละ 43.2)
สรุป: โรงพยาบาลรัตนบุรีมีการตรวจครบตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ไข้เดงกี ร้อยละ 96.2 ไข้เลือดออก ร้อยละ100 และผลการวินิจฉัยถูกต้องตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ไข้เดงกี ร้อยละ 32.3 ไข้เลือดออก ร้อยละ 43.2 ดังนั้นควรมีการทบทวนแนวทางการวินิจฉัยโรคสำหรับโรงพยาบาลรัตนบุรีเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักระบาดวิทยา.กระทรวงสาธารณสุข. การเฝ้าระวังโรคติดต่อ [ออนไลน์] 2553 [สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2554], เข้าถึงได้จาก :URL:https://epid.moph.go.th/.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. Annual Epidemiological Surveillancd Report 2010 สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2553 ครั้งที่1. สุรินทร์:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์, 2554.

ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, ฤดีวิไล สามโกเศศ, สุดา วงศ์ภิรมย์ศานต์, สุวพีร์ บูรณวณิช, วราภรณ์ ภูมิสวัสด์, สุชาติ หงส์ศิริวรรณ และคณะ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลชุมชน. กรุงเทพๆ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทยจำกัด ; 2547.

ศิริเพ็ญ กัลป์เยาณรุจ, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, ชิษณุ พันธ์เจริญ, ทิพย์สุดา วงศ์ภิรมย์ศาสนต์, ศิริจิตต์ วาสนวัฒน์, สมศรี ศรเวช และคณะ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ; 2548.

เสรี นพรัตน์. ระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข มหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย;เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2543.

รุจนี สุนทรขจิต. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกและไข้แดงกีในรอบ 10 ปี. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2552 : 3:1-9

สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก. กรุงเทพๆ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ; 2545.

กวิวัณณ์ วีรกุล. Clinical Practice Guide for the Management of Dengue Hemorrhagic Fever (DHF). สารศิริราช 2550;59:4:201-5.