ประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยการสร้างระบบเครือข่าย และแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ

Main Article Content

ศุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช

บทคัดย่อ

บทนำ: การให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันสามารถช่วยให้ผลการดูแลรักษาดีขึ้น แต่ประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยโดยการสร้างระบบเครือข่ายและแนวทาง การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำยังมีการศึกษาไม่มากโดยเฉพาะพื้นที่ในขนบท ของประเทศกำลังพัฒนายังเป็นที่ถกเถียง
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันด้วยการสร้าง เครือข่ายและแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลบุรีรัมย์และโรงพยาบาลในเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบพรรณนาไปข้างหน้า (prospective descriptive study) ระหว่าง พฤศจิกายน 2553 ถึง กรกฎาคม 2554 เก็บข้อมูลผู้ป่วย1280 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยโรค หลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่มาเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลบุรีรัมย์ บันทึกอัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือด, National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) แรกรับ, เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินจนได้รับยา (door to needle time), เวลาตั้งแต่เริ่มมี อาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด (onset to treatment time), เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่ แผนกฉุกเฉินจนได้ CT SCAN (Mean door to CT), เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินจน ได้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Mean door to LAB), การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ ยาโดยเฉพาะภาวะเลือดออกในสมอง และ การตายและความพิการหลังได้รับยา 3 เดือน (mRS) แบบพรรณนาแสดงในรูปร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเข้าระบบ Buriram hospital Acute Stroke Fast Track Protocol จำนวน 37 ราย ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 6 ราย (16%) โดยมีผู้'ป่วย'จาก ระบบเครือข่าย 20 ราย (54%) ค่าเฉลี่ย National Institutes of Health stroke Scale (NIHSS) แรกรับก่อนให้ยาละลายลิ่มเลือดเท่ากับ 14 (8-19) ค่าเฉลี่ย เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่ แผนกฉุกเฉินจนได้รับ 73 นาที (64-88) เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินจนได้ CT SCAN 27 นาที (20-34) เวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยที'แผนกฉุกเฉินจนได้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ 28.75 นาที (21-45) เวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด 154 นาที (23-225), จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาโดยเฉพาะภาวะเลือดออกในสมอง 1 ราย (16%) จากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 6 ราย ผลการรักษาเมื่อ 3 เดือน ผ่านไป (modified Rankin Scale score [mRS] of 0-6) 2ราย (33%) [mRS 0-1], 2 ราย (33%) [mRS 2-3], 1 ราย (17%)[mRS 4-5], 1 ราย (17%) เสียชีวิต [mRS=6] พบว่า ประสิทธิการรักษายังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในต่างประเทศ และในประเทศไทย
สรุป: การวางระบบเครือข่ายหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Acute Stroke Fast Track Network)
ที่เหมาะสมร่วมกับการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ประสิทธิภาพยังไม่ดีเพียงพอ ต้องอาศัยการสร้างเสริมความแข็งแรงของเครือข่าย การเฝ้าระวัง stroke alert ของประชาชน ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในชนบทของประเทศไทยได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Matsuda Y, Kurita T, Ueda Y, Ito ร, Nakashima T. Effect of tympanic membrane perforation on middle-ear sound transmission. J Laryngol Otol May 2009; 123 Suppl 31:81-9. [Medline].

Wright D, Safranek S. Treatment of otitis media with perforated tympanic membrane. Am Fam Physician. Apr 15 2009;79(8):650, 654. [Medline].

Vikram BK, Khaja N, udayashankar SG, Venkatesha BK, Manjunath D. Clinico- epidemiological study of Complicated and uncomplicated chronic suppurative otitis media. J laryngol Otol. May 2008; 122(5):442-6. [Medline].

Smith JA, Danner CJ. Complications of chronic otitis media and cholesteatoma. Otolaryngol Clin North Am. Dec 2006; 39(6): 1237-55. [Medline].

Brown OE, Meyerhoff WL. Complications and Sequelae of Chronic Suppurative Otitis Media. Ann Otol Rhinol Laryngol. 1988;97(suppl 131):38-40.

Shenoi PM. Management of Chronic supperative otitis media. In: Scott-Brown’s Otolaryngology :Otology,Booth JB,ed. Butter worths, London. 1987:215-237.

Hirsch BE. “Myringoplasty and Tympanoplasty.” In Operative Otolaryngology/ Head&Neck Surgery. Eugene N Myers. Pages 1246-1261.

Vrabee JT, Deskin PW, Grady JJ. Metaanalysis of pediatric tympanoplasty. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 1999; 125:530-4.

Caylan R, Titiz A, Falcioni M, de Donato GD, Russo A, Taibah AA, et al. Myringoplasty in children: factors influencing surgical outcome. Otolaryngol Head Neck Surg. 1998;118(5):709-13.

Sinyth GDL. พToynbee Menorial Lecture 1992:Facts and fantasies in modern otology:the ear doctor’s dilemma.” Journal of Laryngology and Otology. Vol 106, pp 591-596.

Podoshin L et al. WType 1 Tympanoplasty in Children.” American Journal of Otology. 17:293-296.

Derlacki EL. Office closure of central tympanic membrane perforations: a quarter century of experience. Trans Am Acad Ophthalmol Otolaryngol. Mar-Apr 1973;77(2);ORL53-66. [Medline].

DerLACKI el. Residual perforations after tympanoplasty;office technique for closure. Otolaryngol Clin North Am. Nov 1982; 15(4):861-7. [Medline].

P. Sheahan; T. O’Dwyer; A. Blayney. Results of type 1 tympanoplasty in children and parental perceptions of outcome of surgery. J Laryngol Otol. June 2002; Vol: 116, Page: 430-4.

Sheehy JL and Shelton C. “Tympanoplasty : To stage or not to stage.” Oto -HNS. Vol 104. No 3, pages 399-407.

Podoshin L et al. “Tympanoplasty in Adults: A Five-Year Survey.” ENT Journal. Vol 75, No 3. Pages 149- 156.

Halik JJ and Smyth GDL. “Longterm results of Tympanic Membrane Repair.” Oto-HNS. Vol 98, No 2. Pages 162-9.

Albu S et a I. “Prognostic Factors in Tympanoplasty.” American Journal of Otology. Vol 19:136-140.