ความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พิลารัฐ ภูระธีรานรัชต์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมกับการดูแล สุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: ศึกษาจากผู้รับบริการกลุ่มงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 385 คนใช้วิธีการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2553 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ สหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่าง 385 คนพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 236 คน อายุเฉลี่ย 56.81 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาประถมศึกษา อาชีพหลักคือเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้เพียงพอแต่ไม่มีเงินเก็บ บทบาทในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นผู้หารายได้ในการรักษาเป็นการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงส่วนใหญ่มีญาติป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ระดับความคิดเห็นต่อความเชื่อด้านสุขภาพทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก การสนับสนุนทางสังคมในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก การดูแล สุขภาพตนเองในภาพรวมและในด้านการรับประทานอาหาร ด้านการขับถ่าย ด้านการจัด การกับความเครียด ด้านการรับประทานยา ด้านการมาตรวจตามนัด อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าความเชื่อ ด้านสุขภาพในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (r=.328) ส่วนการสนับสนุนทางสังคมในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ ดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01 (r=.520)
สรุป: การส่งเสริมให้มีความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้องและมีการสนับสนุนทางสังคมที่เหมาะสมจะส่งผลให้การดูแลตนเองของผู้ป่วยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. ชุดสุขภาพคนไทย ปี พ.ศ. 2543 สถานะสุขภาพคนไทย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ; 2543.

เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และ พรพันธุ บุญรัตพันธ์. การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน ไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 พ.ศ. 25462547. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพัฒนาระบบ ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ; 2547:111-8.

เจษฎา สุราวรรณ์. การพัฒนาความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โดยเทคนิค กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2550.

กรรณิการ์ เกตุทิพย์. การประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อสตรี อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2549.

Orem D.E. Nursing: Concepts of Practice. 4th ed. St, Louis : Mosby year book company ; 1991.

Becker MH The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monograph ; 1974:2:4:408-19.

น้ำเพชร หล่อตระกูล. การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเขียงใหม่; 2543.

วิเชียร เกตุสิงห์. การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ; 2541.

จิราวดี สินไชย. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลคาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2547.

สกุนตลา รอดไม้. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ; 2548.

อาทิยา วงศาพาน. ผลของโปรแกรมการออก กำลังกายแบบเดินเร็วร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อระดับความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2549.

สุโพชฌงค์ ก้อนภูธร. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาซั้นปีที่ 6 อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและ พฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2541.

จตุรงค์ ประดิษฐ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเขียงใหม่; 2540.

อรชร ศรีไทยล้วน. ความเชื่อด้านสุขภาพและการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยความดันโลหิต วชิรพยาบาล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2541.

ธัญญาลักษณ์ ไชยรินทร์. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุข) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเขียงใหม่;2544.

Orem D.E., Grem & others. Nursing : Concepts of Practice. 5th ed. St, Louis : Mosby year book company; 1995.

Pilisuk, M. Delivery of Social Support : the Social inoculation. Am J Orthopsychiatry 1982; 52:1:20-31.

เสาวภา วิชิตวาที. ความสัมพันธ์ระหว่างความ รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่สูญเสียแขนขา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2534.

เพียงใจ สุวิริยะไพศาล. ความเชื่อด้านสุขภาพสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก โรงพยาบาลราชวิถี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ; 2542.

จิรภา หงษ์ตระกูล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ แรงสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2532.

อารีย์ เธียรประมุข. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2534.

ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร. การพยาบาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์ ; 2546.

ภัทรอำไพ พิพัฒนานนท์. ทฤษฏีการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร ; 2539.