การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรูสึกในห้องพักฟื้น

Main Article Content

แสงจันทร์ วรรณศรี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายหรือการได้รับยาระงับความรู้สึก เฉพาะที่ในห้องพักฟื้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น ให้มีความสะดวก รวดเร็วและ มีแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ก่อให้เกิดความปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึกและการผ่าตัด อีกทั้งผู้ป่วยได้รับ ความสุขสบายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนำไปสู่การดูแลที่ดีตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ในห้องพักฟืนจนผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะวิกฤตและสามารถย้ายกลับหอผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินสภาพของปัญหาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรู้สึกในห้อง พักฟื้นและศึกษาระดับความคิดเห็นของวิสัญญีพยาบาลต่อการพัฒนาระบบบริการการดูแล ผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟืน
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: เชิงพรรณนา กลุ่มประชากร คือพยาบาลวิสัญญี กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 21 คนเครื่องมือทีใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิสัญญีและแบบประเมินระดับความคิดเห็นของพยาบาลวิสัญญีต่อ การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรู้สึก ในห้องพักฟื้น ซึ่งผ่านการ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำก่อนจะนำไป ทดลองปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2553-กุมภาพันธ์ พ.ศ 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: เมื่อนำระบบบริการการดูแลผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น ที่พัฒนาขึ้นใหม่ มาใช้ใน การดูแลผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น พบว่า ระดับความคิดเห็น ของวิสัญญีพยาบาลต่อการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ในห้องพักฟื้น ในด้านแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรู้สึก มีระดับความ คิดเห็นว่าเหมาะสมระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากร และ ด้านโครงสร้างมีระดับ ความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมาก วิสัญญีพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการพัฒนา ระบบบริการการดูแลผู้ป่วยหลังรับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟืนมากกว่า ร้อยละ 80
สรุป: การพัฒนาแนวปฏิบัติต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่การออกความเห็นในทุกๆด้าน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวก มีความชัดเจนในขั้นตอนของแนวปฏิบัติทำให้ เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของแนวปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ทำให้เกิด ความกระตือรือร้นที่ จะทำงานด้วยความเต็มใจ ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของหน่วยงานและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. คณะแพทย์ศาสตร์คิริราชพยาบาล. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา พ.ศ.2552. ฉบับแก้ไข.กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส; 2553.
2. เรณู อาจสาลี.การพยาบาลทางห้องผ่าตัด.กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพัฒนาตำราพยาบาล ศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล; 2540.
3. คณะแพทยศาสตร์คิริราช.ตำราฟื้นฟูวิชาการ วิสัญญีวิทยา พ.ศ.2552. ฉบับแก้ไข.กรุงเทพฯ:ส.เอเชียเพรส (1989); 2552.
4. ประภัตรา ปีกกัดตัง.การปรับปรุงกระบวนการ พัสดุด้วยวิธีการออกแบบกระบวนการใหม่ กรณีศึกษาภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะ วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคุณภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎ สวนสุนันทา; 2541.
5. ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ.รายงานประจำปี 2554 โรงพยาบาลสุรินทร์. สุรินทร์ : ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ โรงพยาบาลสุรินทร์; 2554.
6. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.ตาราฟื้นฟู วิชาการวิสัญญี. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส; 2551.
7. สมเกียรติ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์. รูปแบบการดำเนิน งานคหกรรมของโรงพยาบาลชุมชน กรณีศึกษา :โรงพยาบาลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยา นิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2537.
8. นวลพรรณ เอี่ยมตระกูล. รูปแบบงานบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเลิศสิน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2537.
9. นงลักษณ์ สุรศร. ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร์ มหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ ; 2543.
10. อัจฉรา ศุขศิลป์.การปรับปรุงคุณภาพการบริหารภาครัฐ ด้วยการประยุกต์ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพ แห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. ภาควิชาวิสัญญี วิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ; 2544.