ปัจจัยเสียงของมารดาต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

Main Article Content

Pinmanee Sae-tia

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมีอัตราตาย และเจ็บป่วยหรือพิการสูงกว่าทารกแรกเกิดน้ำหนัก ปกติถือเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ การศึกษาถึงลักษณะของมารดาที่มี ความเสี่ยงต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางใน การวางแผนเพื่อแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งในจังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบการวิจัย :retrospective cohort study
วิธีการศึกษา: ศึกษามารดาที่คลอดทารกแรกเกิดมีชีพ ที่!รงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ.2552 จานวน 2944 ราย ซึ่งมารดา 246 รายอยู่ในกลุ่มศึกษา (ทารกน้ำหนัก < 2,500 กรัม) และอีก 2698 รายอยู่ในกลุ่ม เปรียบเทียบ (ทารกน้ำหนัก ;>2,500 กรัม) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่บันทึกไว้ในทะเบียนคลอด และเวชระเบียนผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่ทำการศึกษา คือ ปัจจัยเสี่ยงด้านชีวเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยเสี่ยงด้านการแพทย์และสูติกรรม และปัจจัยเสี่ยงด้านโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ univariate analysis และ multiple logistic regression analysis
ผลการศึกษา: อัตราการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักเป็นร้อยละ 8.36 การวิเคราะห์แบบ univariate analysis แสดง ให้เห็นว่ามารดาที่มีวุฒิการศึกษาน้อยกว่าระดับมัธยม รายได้ครอบครัวน้อยกว่า5,000บาท/เดือน มารดาที่มีค่า BMI น้อยกว่า 20 กิโลกรัม/เมตร 2 มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 กิโลกรัม น้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 กิโลกรัม มีประวัติสูบบุหรี่ขณะ ตั้งครรภ์ ประวัติดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ผลเลือด Anti-HIV Positive การมี โรคประจำตัวก่อนตั้งครรภ์ ประวัติเคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม การตั้งครรภ์ลำดับ ที่ 1 ไม่ฝากครรภ์หรือฝากครรภ์ไม่ครบเกณฑ์คุณภาพ 4 ครั้งมีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม ขณะตั้งครรภ์ อายุครรภ์ขณะคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ และการตั้งครรภ์แฝด 2 ขึ้นไปเป็น ปัจจัยเสี่ยง หลังการวิเคราะห์แบบ multiple logistic regression analysis พบว่า ปัจจัยเสี่ยง ของมารดาที่สัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุครรภ์ ขณะคลอด น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (OR 38, 95%CI 23 -63) การตั้งครรภ์แฝด 2 ขึ้นไป (OR 10, 95%CI 3.2 -32) การสูบบุหรี่ (OR 6.3, 95%CI 1.3 -30) การติดเชื้อ HIVjOR6, 95% Cl1.8 - 20) การมีประวัติคลอดบุตรน้ำหนักน้อย (OR 4.5, 95%CI 2.6 - 7.8) น้ำหนักเพิ่มขึ้น ตลอดการตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 กิโลกรัม (OR 3.1, 95%ต 2.3 - 4.3) น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อย กว่าหรือเท่ากับ 45 กิโลกรัม (OR 2.19, 95%CI 1.50-3.0) และการคลอด บุตรลำดับที่ 1 (OR 1.7, 95%CI 1.2-2.4)
สรุป: อายุครรภ์ขณะคลอด น้อยกว่า 37 สัปดาห์ การตั้งครรภ์แฝด 2 ขึ้นไป การสูบบุหรี่ การติดเชื้อ HIV การมีประวัติคลอดบุตรน้ำหนักน้อย น้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 กิโลกรัม น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 กิโลกรัม และ การตั้งครรภ์ลำดับที่ 1 เป็นปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญของมารดาต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยควรมีการดูแลเพิ่มขึ้นในมารดาตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ รวมถึงการหาสาเหตุและป้องกันการคลอดก่อนกำหนดเพื่อจะได้หลีกเสี่ยง ภาวะไม่พึงประสงค์ ดังกล่าว


 


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักนโยบายแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องชี้วัดการประเมินผลการพัฒนาสุขภาพในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพจำกัด); 2545.
2. Cunningham FG, Gant NF, Leveno NF, Gilstrap III LC, Hauth JC, Wenstrom KD. Williams Obtetrics.21st ed. New York : McGraw-Hill; 2001.
3. วราภรณ์ แสงทวีสิน. Low birth weight infants. ใน : วิไล ราตรี, สุนทร อ้อเผ่า พันธุ, บรรณาธิการ. ปัญหาทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ดีไซร์ : 2540. 69-81.
4. Anderson MS, Hay WW Jr. Intrauterine growth restriction and the small for gestational age infant. In: Avery GB, Fletcher MA, MacDonald MG, editors. Neonatology Pathophysiology and management of newborn. 5th ed. Philadelphia : Lippincott Williams&Wilkins ; 1999.411-44.
5. Kramer MS. the LBW determinants. Bulletin of the World Health Organization 1991;1:1-337.
6. ประพุทธ ศิริปุณย์. คำจำกัดความ อัตราตาย และสาเหตุการตายของทารกแรกเกิด. ใน : ประพุทธ ศิริปุณย์, อุรพล บุญประกอบ, บรรณาธิการ. ทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้ว พิมพ์; 2533.7 - 12.
7. สุจินต์ ธรรมดี, เยาวลักษณ์ จุลเกตุ, กัลยา แซ่เซียว, นฤมล กันประเสริฐ. ปัจจัยที่ส่งต่อภาวะทารก แรกคลอดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 2544: 16:8-12
8. อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิขาการสาธารณสุข 2544 ; 10 : 629-36.
9. Arora J, Arora D, Kaewsuriya W, Boon-yoohong P, Chaikawang P, kesararat V, et al.Risk factors of low birth weight at Lampang hospital. ลำปางเวชสาร 2545 ; 23 : 127-39.
10. นฤทธิ์ อันพร้อม. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกน้ำหนักตัวน้อย. วารสารกรมการแพทย์ 2539 ;21 : 136-45.
11. จรวย สุภาพ, นันทา อ่วมกุล, ฉวีวรรณ บุญสุยา. ปัจจัยของมารดาที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด ทารกน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2528-2529. วารสารกรมการแพทย์ 2532 ; 14 : 205-11.
12. Chitmaneevon K. Impact of HIV infection in pregnancy on newborn birth weight. วชิรเวชสาร 2545 ; 46 ; 224-9.
13. เรณู ศรีสมิต, สมบูรณ์ศักดิ์ ญาณไพศาล, จินดาวังวิญญู, ศุภพร โกรัตนะ, Kilmarx PH, ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์. แนวโน้มและปัจจัยเสี่ยงของน้ำหนักเด็กแรกคลอดต่ำในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พ.ศ.2533- เดือนมิถุนายน พ.ศ.2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541;7:32-8
14. วิเนตร แก้วลุ่มใหญ่, อัมพร ฝอยทอง, ปราณี ผลเกิด, พิมพรรณ มีหอม. ปัจจัยเสี่ยงต่อการ คลอดทารกน้ำหนักน้อย อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารกรมการแพทย์ 2541;23:273-9.
15. ดิลก ลาภานันต์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่ให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารวิชาการเขต 12 2545;13:77-87.
16. Chumnijarakij T, Nuchprayoon T, Chitinand S, Onthuam Y, Quamkul N, Dusitsin N, et al. Maternal risk factors for low birth weight newborn in Thailand. J Med Assoc Thai 1922 ;75 : 445-52.
17. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล, ธีระ ทองสง. ภาวะทารกโตช้าในครรภ์. ใน : ธีระ ทองสง, ชานนท์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พี.บี ฟอเรนบุ๊คส เซนเตอร์ ; 2541.289-98.
18. Suthutroravut S, Chaturachinda K. Risk of low birthweight at Ramathibodi hospital. J Med Assoc Thai 1988 ; 71 (suppl 2) : 6-11.