ผลการศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ Lichtenstein Mesh Repair กับ Darn Repair

Main Article Content

Kampon Eiamkeakool

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ไส้เลื่อนขาหนีบเป็นโรคที่ได้รับการผ่าตัดมากชนิดหนึ่งในแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาล มหาสารคาม หลักของการเสริมความความแข็งแรงของผนังไส้เลื่อนแบบไร้ความตึง (Tension-free) เป็นหลักการสำคัญในการผ่าตัดโดยมีวิธีการหลากหลายวิธี รวมทั้งวิธี Darn repair และ Lichtenstein mesh repair
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการผ่าตัดซ่อมผนังไส้เลื่อนขาหนีบแบบ Darn repair กับ Lichtenstein mesh repair ในแง่ของระยะเวลาทำการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ภาวะ แทรกซ้อนหลังผ่าตัด และระยะเวลานอนโรงพยาบาล
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (Prospective study) ในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาล มหาสารคามโดยศึกษาข้อมูลตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2552 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 จำนวนผู้ป่วยที่ศึกษา 80 ราย ที่มีไส้เลื่อนขาหนีบข้างใดข้างหนึ่ง แบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มที่หนึ่งจำนวน 40 รายทำการผ่าตัดเสริมผนังไส้เลื่อนโดยวิธี Darn repair กลุ่มที่สอง จำนวน 40 รายทำการผ่าตัดเสริมผนังไส้เลื่อนโดยวิธี Lichtenstein mesh repair ทำการ ศึกษาเปรียบในแง่ระยะเวลาทำการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลัง ผ่าตัด และระยะเวลานอนโรงพยาบาล ไม่รวมผู้ป่วยไส้เลื่อนที่มีโรคแทรกซ้อน เซ่น มีภาวะ ลำไส้ขาดเลือดหรืออุดตัน ผู้ป่วยไส้เลื่อนกลับเป็นซ้ำและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ
ผลการศึกษา: จากจำนวนผู้ป่วย 80 ราย พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 40-50 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และเป็นไส้เลื่อนชนิด indirect inguinal hernia เมื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดด้วยวิธี Darn re pair กับวิธี Lichtenstein mesh repair โดยเปรียบเทียบในแง่ระยะเวลาที่ทำการ ผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและระยะเวลานอนโรงพยาบาล พบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และจากการติดตามเป็นเวลา 1 ปี พบผู้ป่วยมีภาวะกลับเป็นซ้ำของไส้เลื่อนกลุ่มละ 1 ราย
สรุป: การผ่าตัดเสริมความแข็งแรงของผนังไส้เลื่อนโดยวิธี Darn repair ได้ผลไม่แตกต่างจากวิธี Lichtenstein mesh repair ในแง่ระยะเวลาผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ภาวะ แทรกซ้อนหลังผ่าตัด และระยะเวลานอนโรงพยาบาล แต่เนื่องจาก Darn repair ไม่จำเป็น ต้องใช้ Mesh ดังนั้นจึงมีความคุ้มค่ามากกว่าในแง่ความประหยัด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Primatesta P, Golacre MJ. Inguinal herniarepair, incidence of elective and emergency surgery.Int J Epidemol 1996; 25:835-9.
2. ชาญวิทย์ตันติ์พิพัฒน์. hernias. ใน : สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ, พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2553.
หน้า 633-49.
3. Russell RCG, William NS.Bulstrode CJK. Bailey &Love’s Short practice of surgery 24th ed. London : Arnold ; 1272-1293
4. Terranova O, Battocchio F. The bassini- operation.In:Lioyd MN. Ed. Mastery ofsurgery. 3rd ed. Boston : Little Brown, company; 1997:1807-10.
5. Paul A, Troidl H, Williams JL, RixenD, Langen R. Randomizedtrial of modified Bassini versus Shouldice inguinal hernia repair. The cologne Hernia study group.Br J Surg 1994; 81:1531-4.
6. Lichtenstein IL, Schulman AG. Ambulatory outpatient hernia surgery.Including a new concept: Introducing tension-free repair.Int Surg 1986; 71:1-4.
7. Malik Zl, Ahmad E, Ayub GH, Khan SH. Lichtenstein repair. J Surg PIMS 1993; 5: 18 - 9.
8. Bhopal FG, Niazi GHK, Iqbal M. Evaluation of Lichtenstein repair for morbidity and recurrence. J Surg Pak 1998; 3(1): 20 2.
9. Moloney G. Darning in inguinal hernias. Ach Surg 1972; 104:129.
10. Manzar S. Inguinal hernia incidene, complications and management. JCPSP 1992;2: 7-9.
11. Ali N, Israr M, Isman M. recurrence after primary inguinal hernia repair: mesh versus darn. Pak J Surg 2008; 24:3:153-5.
12. Koukourou A, Lyon W, Rice J, Wattchow DA. Prospective randomized trial of polypropylene mesh compared with nylon darn in inguinal hernia repair. Br J Surg 2001; 88:931-4.
13. Friis E. Tension free herniotomy using the Lichtenstein method. Results of five years experience. Ugeskr-Laeger 2000; 162:11: 1556-9.
14. Moloney GE. Results of nylon darn repairs of hernia. Lancet 1958; 1: 273-8.
15. Bhopal FG, Niazi GHK, Iqbal M. Evaluation of Lichtenstein repair for morbidity and recurrence. J Surg Pak 1998; 3:1: 20-2.