ผลการดำเนินงานคลินิกล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

Main Article Content

Pichet Chongcharoen

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: จากที่ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลราษีไศล มีอัตราการนอนโรงพยาบาล การส่งต่อ และอัตราการตายที่สูง จึงมีการจัดตั้งคลินิกล้างไตทางช่องท้อง (CAPD clinic) ขึ้นเพื่อดูแลผู้ป่วย กลุ่มนี้ การศึกษาถึงผลการดำเนินงานจะทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยร่วมของการเกิดไตวาย ผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน สาเหตุการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และคุณภาพชีวิตหลังการรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้อง อย่างต่อเนื่องของคลินิกล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ทำการวิจัย: คลินิกล้างไตทางช่องท้อง หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษาโดยวิธีล้างไตทางช่องท้องที่คลินิก ล้างไตทางช่องท้อง ของโรงพยาบาลราษีไศล ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2555 วิธีการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากทะเบียนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาโดยวิธีล้างไตทาง ซ่องท้อง และแบบบันทึกประเมินคุณภาพชีวิต SF-36 มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยสถิติการแจกแจง ความถี่ของจำนวนนับ ค่าเฉลี่ย และการประมวลผลจากโปรแกรม PD-exel โปรแกรมประมวลผล เฉพาะของแบบสอบถาม SF-36
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 47 ราย (ชาย 23 ราย หญิง 24 ราย) ที่เป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เข้ารับการรักษาทดแทนไตโดยวิธีล้างไตทางช่องท้อง อายุน้อยที่สุดคือ 34 ปี มากที่สุดคือ 77 ปี อายุเฉลี่ย 55.70 ปี มีวุฒิการศึกษาส่วนใหญ่คือประถมศึกษา อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรมีรายได้น้อย พบว่ามีโรคร่วม คือความดันโลหิตสูง 19 ราย, เบาหวาน13 ราย, เป็นทั้งเบาหวานและความดันโลหิตสูง 5 ราย ระยะ เวลาการได้รับการรักษาด้วย CAPD เฉลี่ย 8.47 เดือน ส่วนใหญ่ไม่พบอัตราการติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้อง 31 ราย ที่พบมีการติดเชื้อ 1 ครั้ง 15 ราย และติดเชื้อ 2 ครั้ง 1 ราย ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วย CAPD ต้อง นอนรักษาในโรงพยาบาลจาก 39 ครั้ง คือ ภาวะติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้อง 15 ครั้ง ภาวะที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการล้างไต 14 ครั้ง พบการติดเชื้อที่ทางออกของสายล้างทอง (exit-site infection) 1 ราย และ tunnel infection 1 ราย ได้รับการรักษาตามเชื้อที่พบจนหายเป็นปกติ ภาวะน้ำเกิน และภาวะ insufficiency solute removal ได้ให้การรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในรายบุคคลจากการ ประมวลผลด้วย PD excel พบว่าการเกิดการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง และ การติดเชื้อที่ทางออกของ สายล้างท้องมีระยะเวลาที่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้มีผู้ป่วยออกจากโครงการ7คนเนื่องจากเปลี่ยนวิธีรักษา เป็นวิธีฟอกเลือด (HD;hemodialysis) 4 ราย มีภาวะ Ultrafiltration failure 2 ราย มี mechanical complicationRอสายลอยในช่องท้อง 1ราย และภาวะติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้อง 1รายเสียชีวิต3 ราย ด้วยภาวะปอดติดเชื้อ 1 ราย โรคหลอดเลือดสมอง 1 ราย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 1 ราย การประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่
สรุป: การดำเนินงานคลินิกล้างไตทางช่องท้องของโรงพยาบาลราษีไศล เป็นงานใหม่สำหรับโรงพยาบาลชุมชนจำนวนผู้ป่วยยังไม่มาก ผลงานที่ได้ในภาพรวมถือว่าผ่านเกณฑ์ตามเป้าหมาย แต่ปัญหารายบุคคล และการพัฒนางานที่มีรายละเอียดมากยังคงต้องมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้ายดีขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. รายงานสถิติ ความชุกและอุบัติการณ์ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต. กรุงเทพหานคร : โรซไทยแลนด์; 2549:1-2
2. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2552. กรุงเทพ ฯ : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2552:1- 46.
3. อรรถพงศ์ วงศ์วิวัฒน์. การดูแลโรคไตเรื้อรังในปัจจุบัน : current concepts in management of chronic kidney disease. ใน : ทวี คิริวงศ์, บรรณาธิการ. update on CKD preven tion: strategies and practical points. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550:43-56.
4. ทวี ศิริวงศ์. การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องในประเทศไทย. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 2549;3:298-311.
5. สุทธชาติ พืชผล. Continuous ambula tory peritoneal dialysis (CAPD). ใน: อุษรา ลุวีระพรรณบุปผา ชูวิเชียร, สุพัฒน์ วาณิชยาการ, บรรณาธิการ. การบำบัดทดแทนภาวะไตวาย. กรุงเทพมหานคร : ยูนิตี้พับลิเคชั่น ; 2537: 159-61
6. อนุตตร จิตตนันทน์. สภาวะแทรกซ้อนของการล้างช่องท้องแบบถาวร. ใน : อุษณา ลุวีระพรรณบุปผา ชูวิเชียร , สุพัฒน์ วาณิชย์การ, บรรณาธิการ. การบำบัดทดแทนภาวะไตวาย. กรุงเทพมหานคร : ยูนิตี้พับลิเคชั่น; 2537:224-42
7. National Kidney Foundation. Part 4. Definition and classification of stages of chronic kidney disease. American Jour nal of Kidney Diseases 2002 ; 39 : (2 suppl 1) : S46-75.
8. วัชรี เลอมานกุล, ปารณีย์ มีแต้ม. การพัฒนาแบบสอบถามคุณภาพชีวิต SF-36 ฉบับภาษา ไทย.วารสารไทยเภสัชสาร2543;24:2:92-111.
9. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.(2554). รายงานผลการดำเนินงานโครงการล้างไตผ่าน ทางช่องท้องในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (1 ตุลาคม 2550-31 สิงหาคม 2554). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2555, http:vwvw.kdf. nhso.go.th./
10. พิมพวรรณ เรืองพุทธ.(2543). ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ไม่มีการติดเชื้อของเยื่อบุทางช่องท้องจากการรักษาด้วยการขจัดของเสียทางเยื่อบุทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง.วิทยานิพนธ์ พย.ม., บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
11. พวงผกา รอดฉวาง.(2544). ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการขจัดของเสียทางเยื่อบุช่องท้องอย่างต่อเนื่อง.วิทยานิพนธ์ พย.ม.,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
12. ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญโรคไตชี้ สปสช.ดูแลผู้ป่วยไตวายดีกว่าหลายประเทศ. หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2555, http:www. manager.co.th/qol/ViewNews.aspx? NewslD... 12344678..6&
13. โรงพยาบาลสวรรค์ประขารักษ์.(2554). สถิติห้องไตเทียมโรงพยาบาลสวรรค์ประขารักษ์. นครสวรรค์ : โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์.
14. จักรพงศ์ ไพบูลย์.(2541). การศีกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบในผู้ป่วยไทยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. แพทยศาสตร์(การพัฒนาสุขภาพ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.