ภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

Main Article Content

Verapol Kittipibul

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาทางสังคม และปัญหาทางสาธารณสุขของ ประเทศไทย โดยเฉพาะช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีตัวเลขสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่พัฒนา แล้วที่มีการตั้งครรภ์ไนวัยรุ่นลดลง วัยรุ่นเป็นช่วงชีวิตที่อยู่ในระหว่างศึกษาเล่าเรียนไม่มี ความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ ขาดการดูแลสุขภาพและทารกในครรภ์ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทางสูติศาสตร์กับการตั้งครรภ์ได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเปรียบเทียบกับสตรี ตั้งครรภ์อายุ 20-25 ปีในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง
สถานที่สืกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
กลุ่มศึกษา: สตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 13 -19 ปี ซึ่งเป็นการคลอดครั้งแรกและครรภ์เดี่ยวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2554
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังของสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุระหว่าง 13 - 19 ปี ซึ่งเป็นการคลอด ครั้งแรกและครรภ์เดี่ยวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีกลุ่มเปรียบเทียบคือสตรี ตั้งครรภ์อายุ 20 - 25 ปี เป็นการคลอดครั้งแรกและครรภ์เดี่ยวซึ่งคลอดในช่วงเวลาเดียวกัน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของมารดาและทารกระหว่าง 2 กลุ่ม โดยใช้ค่า mean, standard deviation, percentage, chi-squar, t-test, Z-test มีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: การคลอดของสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคิดเป็นร้อยละ 14.9 กลุ่มศึกษามีการฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้ง มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (ร้อยละ 16.0 กับ ร้อยละ 9.0, p<0.001) กลุ่มศึกษามี อัตราการคลอดก่อนกำหนด ภาวะโลหิตจาง ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบ (ร้อยละ 22.1 กับ ร้อยละ 14.2, P<0.001 และร้อยละ 19.3 กับร้อยละ 9.0, p<0.001 และร้อยละ 18.0 กับร้อยละ 10.3,p<0.001 ตามลำดับ) กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่ คลอดเองทางช่องคลอดมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (ร้อยละ 58.9 กับร้อยละ 41.3,p<0.001) และมีอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องน้อยกว่า (ร้อยละ 31.1 กับร้อยละ 47.0,p<0.001)
สรุป: การคลอดของสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบร้อยละ 14.9 สตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีการฝากครรภ์น้อยกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุ 20-25 ปี ภาวะแทรกซ้อน ทางสูติศาสตร์ที่พบคือภาวะโลหิตจาง การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย และทารกแรกเกิดขาดอกซิเจน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัย การเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน. [ออนไลน์]. 2554 [สืบค้น 28 พฤษภาคม 2555] ; เข้าถึงได้ที่ : URL:https://rh.anamai.moph.§๐. th/home. htm.
2. Watcharaseranee N, Pinchantra P, Piyaman S.The incidence and complications of teenage pregnancy at Chonburi Hospital. J Med Assoc Thai 2006; 89 :suppl4: s1 18-23.
3. Kittipibul S. Teenage pregnancy at Trat Hospital. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2010;27:2: 107-14.
4. Vital signs : teenage pregnancy - United States, 1991-2009. MMWR Morb Mortal wkly Rep 2011; 60:13:414-20.
5. Mckay A. Trends in teen pregnancy in Canada with comparisons to U.S.A. and England/Wales. The Canadian Journal of Human Sexuality 2006;15:3-4: 157-61.
6. Eure CR, Lindsay MK, Graves WL. Risk of adverse pregnancy outcomes in young adolescent parturients in an inner-city hospital. Am J obstetGynecol 2002; 189: 918-20.
7. Mahavarkar SH,Madhu CK, Mule VD. A comparative study of teenage pregnancy. J Obstet Gynecol 2008;28: 6: 604 - 07.
8. Chen XK, Wen SW, Fleming N, Demissie K, Rhoads GG, Walker M. Teenage pregnancy and adverse birth outcome : A large population based retrospective cohort study. IntEpidemiol 2007;36:2: 368-73.
9. Corde-Agudelo A, Belizan JM, Lammers C. Maternal-Perinatal morbidity and mortality associated with adolescent pregnancy in Latin America. Cross-sectional study. Am J ObstetGynecol 2005;192:342-49.
10. Joseph NP. Pregnancy in adolescence.In: Sanfillippol S, Muram D, Dewhurst J, Lee PA, editors. Pediatric and Adolescent Gynecology.Philadelphia : Saunders; 2001:318-31.
11. Otterblad Olausson PM, Cnattingius S, Haylund B. Teenage pregnancies and risk of late fetal death and infant mortality. Br J ObstetGynecol 1999;106 :116-21.
12. Isaranurug S, Mosuwan L, Choprapawan C. Differences in socioeconomic status, service utilization, and pregnancy outcomes between teenage and adult mothers. J Med Assoc Thai 2006;89:145-51.
13. Suwannachat B, Ualalitchoowong P. Maternal age and pregnancy outcomes. Srinagarind Med J 2007;22:4:401-07.
14. พีระยุทธฺ สานุกูล, เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์. ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6. Thai Pharm Health Sci J 2008 ; 3:1:97-102.
15. Pattanapisalsak C. Obstetric outcomes of teenage primigravida in Su-NgaiKolok Hospital, Narathiwat, Thailand. J Med Assoc Thai 2011 ; 94:2:139-46.
16. Hoque M, Hoque S. Comparison of perinatal and obstetrics outcomes among early adolescents, late adolescents and adult pregnant women from rural South Africa. East Afr J Public Health 2010; 7:2:171-6.
17. Omole-Ohonsi A, Attah RA. Obstetric Outcome of teenage pregnancy in Kano, North-western Nigeria. West Afr J Med 2010;29:5:318-22.
18. JivrajS, Nazzal Z, Davies P, Selby K. Obstetric outcome of teenage pregnancies from 2002 to 2008 : Sheffield experience. J Obstet Gynaecol 2010 ; 30: 3:253-56.
19. Kovavisarach E, Chairaj S, Tosang K, Asavapiriyanont S, Chotigeat U. Outcome of teenage pregnancy in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 2010 ; 93:1: 1-8.
20. Debiec KE, Paul KJ, Mitchell CM, Hitti JE. Inadequate prenatal care and risk of preterm delivery among adolescents : a retrospective study over 10 years. Am J Obstet Gynecol 2010 :203:2:122.el-6.