การศึกษาผลการรักษาหูดด้วยการฉีด Tuberculin PPD แบบ Intralesion กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลห้วยราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ศักดา เอกัคคตาจิต

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: หูดเกิดจากการติดเชื้อ Human Papillomavirus ภายในชันหนังกำพร้า ซึ่งกระตุ้นให้มีการ แบ่งเซลล์อย่างมากจนกลายเป็นตุ่มแข็งที่ผิวหนัง การรักษามีหลายวิธี ได้แก่ การทายากลุ่ม salicylic acid การใช้ เลเซอร์ การผ่าตัด แต่ไม่มีวิธีใดที่ให้ผลการรักษาได้ประสิทธิผลสูงสุด และมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจศึกษาผลการรักษาโดยการฉีด Tuberculin PPD ที่รอยโรคซึ่งเป็นวิธีการรักษาอีกทางเลือกหนึ่ง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาหูดที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษาโดย วิธีฉีด Tuberculin PPD แบบ Intralesion
วัสดุและวิธีการ: เริ่มด้วยการฉีด Tuberculin PPD เข้าที่รอยโรคทีมีขนาดใหญ่ทีสุด ในขนาด 10 iu จากนั้น จะฉีดซ้ำที่รอยโรคเดิมทุก 2 สัปดาห์ โดยประมาณจนกระทั่งไม่พบการหนาตัวและผิวขรุขระ แต่ต้องไม่เกิน 6 ครั้ง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 13 ราย เป็นเพศชาย 7 ราย อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 15 ปีและอายุ 45-49 ปี 4 ราย และมีจำนวนรอยโรคหูดมากกว่า 1 แห่ง 11 ราย ผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะหายเมื่อได้รับการฉีดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 7 ราย และผู้ป่วยที่มีรอยโรคหลายแห่งมีรอยโรคอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการฉีดหายไปด้วย 7 ราย ทั้งนี้ พบอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด 2 ราย ซึ่งหายได้ เองใน 2 วัน โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
สรุป: การรักษาหูดด้วยการฉีด Tuberculin PPD เข้าที่รอยโรคเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีภาวะ
แทรกซ้อนมาก และอาจใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคหูดหลายตำแหน่ง
คำสำคัญ: หูด, สาร Tuberculin

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อภิชาต คิวยาธร, กนกวลัย กุลทนันทน์,บรรณาธิการ.โรคผิวหนังต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติ ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร:หมอ ชาวบ้าน;2548.
2. Bacelier R, Johnson SM. Cutaneous warts an evidence-base approach to therapy. Am Fam Physican. 2005 ; 72:647-52.
3. HornTH,Johnson SM, Helm RM, Roberson PK. Intralesional immunotherapy of warts with mumps, Candida and trichophyton skin test antigens. Arch Dermatol. 2005 ; 141:589-94.
4. Wananukul S., Chatproedprai S., Kittirat- sacha P., intralesional immunotherapy using tuberculin PPD in the treatment of palmoplantar and periungual warts. Asian Biomedicine. 2009 ; 3:739-43.
5. อรพินท์ สุขวงษ์. การศึกษาเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพระหว่างยา 5% อิมิควิมอดครีม ตามด้วยแผ่นปิดกับยาหลอกตามด้วยแผ่นปิด ร่วมกับ 20% ซาลิไซลิก แอชิด ในการรักษาหูด ธรรมดาชนิดทีพบบ่อย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต. ภาควิชาวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย:กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย;2548.
6. Gibbs S, Harvey I, stering J, Stark R. Local treatments for cutaneous warts: systematic review. Br J Dermatol. 2002; 325:461-9.