ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะล้มเหลวของแผ่นโลหะดามกระดูกต้นขาส่วนกลาง

Main Article Content

กริช ธีรลีกุล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การผ่าตัดใส่เหล็กแผ่นโลหะดามกระดูกต้นขาหักสามารถจัดกระดูกให้เข้าที่ตามรูปทรงทาง กายวิภาคได้ดี ต้องการเครื่องมือและผู้ช่วยในการผ่าตัดน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กแท่ง โลหะดามกระดูก แต่พบภาวะแทรกซ้อนจากความล้มเหลวของแผ่นโลหะดามกระดูกใน อัตราที่ลสูง
วัตถุประสงค์: เพื่อหาสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนจากความล้มเหลวของแผ่นโลหะดามกระดูก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลังในผู้ป่วย 123 รายที่ได้รับการรักษาโดย การใส่แผ่นโลหะดามกระดูกในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ช่วง 1 กันยายน พ.ศ. 2552 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน ฟิล์มเอ็กซเรย์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ ความล้มเหลวของแผ่นโลหะดามกระดูก เปรียบเทียบข้อมูล โดยการใช้ Chi-squared test และมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value < 0.05
ผลการศึกษา: จากการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากความล้มเหลวของ แผ่นโลหะดามกระดูก และกลุ่มทีมีภาวะแทรกซ้อน พบว่า กลุ่มที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีผู้'ป่วย 105 ราย อายุเฉลี่ย 29.6 (12-80 ปี) เป็นชาย 72 คน (69%) ผู้ป่วยที่มีการหักของ กระดูกต้นขาแบบละเอียด 1 ราย (0.9%), จำนวนกระดูกฝังนอก (cortex) ที่ถูกยึดด้วยสกรู ด้าน proximal เฉลี่ย 9.2 ด้าน distal เฉลี่ย 9.3 ระยะเวลาที่เดินโดยใช้ไม้เท้าพยุงเฉลี่ย 13.02 สัปดาห์ กลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อน มีผู้ป่วย 18 ราย (17%) อายุเฉลี่ย 24.8 (14-52 ปี) เป็นชาย 17 คน (94%) ผู้ป่วยที่มีการหักของกระดูกต้นขาแบบละเอียด 4 ราย (22%) จำนวนกระดูกฝังนอก(cortex) ที่ถูกยึดด้วยสกรูด้าน proximal เฉลี่ย 8.2 ด้าน distal เฉลี่ย 7.8 ระยะเวลาที่เดินโดยใช้ไม้เท้าพยุงเฉลี่ย 7 สัปดาห์
สรุปและข้อเสนอแนะ: ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะความล้มเหลวของแผ่นโลหะดามกระดูกที่กระดูกต้นขาส่วน กลางอย่าง มีนัยสำคัญได้แก่ เพศ จำนวนกระดูกที่ถูกยึดด้วยสกรู จำนวนของผู้ป่วยที่มีการ หักของกระดูกต้นขาแบบละเอียด และระยะเวลาที่เดินโดยใช้ไม้เท้าพยุง การผ่าตัดใส่แผ่น โลหะดามกระดูกที่กระดูกด้นขาส่วนกลางหัก ยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการรักษา โดยเฉพาะใน โรงพยาบาลที่มีเครื่องมือจำกัดในการใส่แท่งโลหะดามกระดูก หากแต่จะต้องใช้เทคนิคใน การผ่าตัดที่เหมาะสม เลือกใช้เหล็กที่มีความยาวเพียงพอ ปลูกเพาะกระดูกใหม่ (bone grafting) เมื่อมีข้อบ่งชี้ รวมไปถึงการแนะนำ ติดตามผู้ป่วยหลังการผ่าตัดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะระยะเวลาที่เดินโดยใช้ไม้เท้าพยุง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะล้มเหลวของแผ่นเหล็กที่ อาจจะเกิดขึ้น
คำสำคัญ: ความล้มเหลวของแผ่นโลหะดามกระดูก กระดูกต้นขาส่วนกลางหัก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Whittle AP. Fracture of the lower extremity. : In Canale ST, editor. Campbell's operative orthopaedics. 11th ed. New York : Mosby ; 2008. p 3190-217.
2. Lakhey S, Maheshwari J, Mahotra R. Factor affecting implant failure of the shaft of femur. JNMA 2003;42:197-200.
3. Nork SE. Fracture of the shaft of femur. : In Bellabarba CB, Bhandari M, Blachut PA, Broekhuyse HM, Buckwalter JA, Butters KP, et al. Rockwood and Green’s Fracture in adult. 6th ed. Lippincott Williams & Wilkins; 2006.pl845-910.
4. Alho A, Stiomsoe K, Ekland A. Locked intramedullary nailing of femoral shaft fracture. The Journal of Trauma 1991; 31:49-59.
5. Chi-Chuan Wu, Treatment of femoral shaft aseptic nonunion associated with plating failure: emphasis on the situation of screw breakage. J Trauma. 2001 Oct;51:4:710-3.
6. Epps CH, Complication in orthopaedic surgery. 3rd ed. JB Lippincott publishers; 1988.
7. Ruedi TP, Luscher JN. Results after internal fixation of comminuted fracture of the femoral shaft with DC plates. Clin Orthop 1979 ; 138 : 74-6.
8. Reimer BL, Butterfield SL, Burke CJ. 3rd ed. Immediate plate fixation of highly comminuted femoral diaphyseal fractures in blunt poly trauma patient Orthopedics 1992;15:8:907-16.
9. Geissler WB, Powell TE, Blickenstaff KR, Savoie FH. Compression plating of acute femoral shaft fractures. Orthopedics 1995;18:7:655-60.
10. Loomer RL, Meek R, De Sommer F. Plating of femoral shaft fracture:the Vancouver