การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด

Main Article Content

วัชรี มุกด์ธนะอนันต์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ความปวดหลังผ่าตัดทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาโดยเพิ่มการทำงาน ของระบบประสาทอัตโนมัติทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นความดันโลหิตสูงขึ้น ความปวดเป็นสิ่งรบกวนผู้ป่วยทำให้เกิดความไม่สุขสบายและทุกข์ทรมานดังนั้นการพัฒนา แนวทางการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด เพื่อการประเมินความปวดและบรรเทา ความปวดเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของพยาบาลถ้าสามารถบริหารจัดการความปวดได้อย่าง มีประสิทธิภาพผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพปลอดภัยและเกิดความพึงพอใจ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดรวมถึงประเมินผลการนำ แนวทางไปใช้
สถานที่ศึกษา: หอผู้ป่วยศัลยกรรมชายและหญิง หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชายและหญิง โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 106 คน และผู้ป่วย 160 ราย มีระยะเวลาการศึกษาในช่วงเดือน มกราคม - ตุลาคม พ.ศ.2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินผล การจัดการความปวดและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการดูแลที่ได้รับในการ จัดการความปวด แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติที่ พัฒนาขึ้น ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีขั้นตอนการ ดำเนินการศึกษาเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การจัดการความปวดใน ผู้ป่วยหลังผ่าตัด เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความ ปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัด โดย กำหนดกิจกรรม และจัดทำแนวปฏิบัติให้เกิดความครอบคลุมตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยจากห้อง ผ่าตัด การประเมินความปวด การจัดการความปวดทั้งรูปแบบการใช้ยาและไม่ใช้ยา รวมถึง การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการความปวด และนำแนวทางที่พัฒนาขึ้นลงสู่การ ปฏิบัติ ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบ ที และการวิเคราะห์เซิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายหลังนำแนวทางการจัดการความปวดไปใช้ พบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติ ผู้ป่วยมี ความพึงพอใจในการจัดการความปวดของพยาบาลสูงขึ้นในทุกประเด็น อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติที่ พัฒนาขึ้นพบว่ามีความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 80 ในทุกประเด็น
สรุปผล: แนวทางการการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่สร้างขึ้น ส่งผลให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ครอบคลุม สามารถปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกมีความชัดเจนในขั้นตอนของแนวปฏิบัติ ทำให้เกิด ความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติ และผู้รับบริการ
คำสำคัญ: การพัฒนาแนวปฏิบัติ แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. ความรู้สู่ประชาชน ความรู้เกี่ยวกับการระงับ ความปวดหลังผ่าตัด. [ออนไลน์]. 2550 [สืบค้น 20 กันยายน 2550); เข้าถึงได้ที่ : URL/http:// vwwv.chula.ac.th.
2. Ignatavicius DD, Workman ML, Mishler MA. Medical-surgical nursing: A nursing process approach. 2nd ed. PA: W.B. Saunders Company. 1995.
3. ชัชชัย ปรีชาไว. Acute postoperative pain management. การจัดการความปวด; วันที่ 5 และ 11 กันยายน 2544; ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์: สงขลา; 2544.
4. Bonica JJ. Management in postoperative pain. In Bonica JJ, editor. The management of pain. 2nd ed. Philadelphia: Lea & Febiger; 1990.
5. Lin CC. Applying the American pain society’s QA standards to evaluate the quality of pain management among surgical, oncology, and hospice inpatients in Taiwan Pain 2000; 87: 43-49.
6. สมพร ชินโนรส, สุดกัญญา พัทวี, วิเศษ ศรีสุพรรณชาติ. การรับรู้ประสบการณ์ความ ปวดและการจัดการกับความปวดในผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดหัวใจและทรวงอกชนิดผ่ากลางกระดูก สันอก. วารสารพยาบาล 2543; 49: 110-21.
7. Watt-Watson J, Garfinket P, Gallop R, Stevens B, Streiner D. The impact of nurses’ empathic responses on patients’ pain management in acute care. Nursing Research 2000; 49: 191-200.
8. Thienhaus O. The Classification of Pain. In Weiner RS, editor. Pain management. 6th ed. New York: CRC PRESS; 2001.
9. Weinreb NJ, Kingbrunner B, Clark M. Pain management. In Kingbrunner BM, Weinrub NJ, Policzer JS, Weiss BD. End-of-life care. New York: McGraw-Hill; 2002.
10. อภิพร ต้นศรี. การพัฒนารูปแบบการจัดการ ความ ปวดเฉียบพลันที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาล นครพนม. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหา บัณฑิต]. ขอนแก่น; มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549
11. จิราภรณ์ สิงหเสนี. ผลของโปรแกรมการจัดการ กับความปวดต่อระดับความปวดและความ พึงพอใจในการจัดการกับความปวดของผู้ป่วย หลังผ่าตัดข่องท้อง [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลคาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัย บูรพา; 2548.