การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและลักษณะของโรคมะเร็งตับในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ชวลิต ชยางศุ

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคมะเร็งตับหรือ hepatocellular carcinoma ในประเทศไทยระยะหลังเริ่มพบมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี,ซี และตับแข็งจากการดื่มสุราจากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2553 จังหวัดสุรินทร์มี ผู้ป่วยโรคมะเร็งมากเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางผู้วิจัยจึงคิดที่จะทำการ ศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งตับ เพื่อต้องการทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของโรคมะเร็งตับ ขนาดและจำนวนก้อนของมะเร็งที่พบ รวมถึงวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุรินทร์ได้รับ
กระบวนการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective) โดยทบทวนเวช ระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสุรินทร์ ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ (Hepatocellular carcinoma, รหัส ICD10 C22.0) ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2554 จำนวนทังสิน 83 รายการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและลักษณะของโรคมะเร็งตับ โดยใช้ สถิติ descriptive, unpaired t-testu และ Mann-Whitney U test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ศึกษามีจำนวนทั้งหมด 83 ราย เป็นเพศขาย 68 ราย (81.9%) และเพศ หญิง 15 ราย (18.1%) โดยมีอายุเฉลี่ย 59.3 (±11.0) ปีมี,ประวัติดื่มสุรา 38 ราย (59.4%) ประวัติการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 21 ราย (52.5%) และประวิติการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี 4 ราย (10.5%)มีค่าเฉลี่ย albumin2.8 (±0.7) g/dL ค่ามัธยฐาน total bilirubin 1.5 mg/ dL ค่ามัธยฐานAST 117 U/L ค่ามัธยฐานALT 54U/L ค่ามัธยฐานAP 189U/L และค่ามัธยฐานcreatinine 1.0 mg/dLระดับ AFP มีค่ามัธยฐาน 257 IU/L ค่าเฉลี่ยขนาดก้อนที่ ใหญ่ที่สุดในผู้ป่วยแต่ละรายคือ 9.6(±4.4) เซนติเมตรก้อนมักจะอยู่ในกลีบตับขวา 45 ราย (75%)ประเภทรังสีที่ใช้วินิจฉัยโรคพบว่าใช้ CT scan 37 ราย (52.1%) รองลงมาเป็น us มี 29 ราย (40.8%) และ MRI มี 5 ราย (7%) ในแง่การรักษานั้นผู้ป่วยส่วนมากได้รับการ รักษาแบบประคับประคอง (supportive) 65 ราย (78.3%) และพบว่าลักษณะที่แสดงออก ของโรคมะเร็งตับระหว่างเพศชายและเพศหญิงไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
บทสรุป: จากการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังนี้ พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งตับในโรง พยาบาลสุรินทร์ได้แก่ การดื่มสุรา และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีก้อนเนื้องอกเพียงก้อนเดียว และมักจะอยู่ที่กลีบตับขวา ผู้ป่วย 80% ได้รับการรักษาแบบประคับ ประคอง และพบว่าลักษณะทีแสดงออกของ,โรคมะเร็งตับระหว่างเพศชายและเพศหญิง ไม่มี ความแตกต่างกัน
คำสำคัญ: มะเร็งตับ ปัจจัยเสี่ยง เนื้องอกตับ
คำย่อ: HCC = hepatocellular carcinoma, AST = aspartate aminotransferase, ALT = alanine aminotransferase, AP = alkaline phosphatase, AFP = alpha-fetoprotein, CT scan = computed tomography scan, ชร = ultrasonography, MRI = magnetic resonance imaging

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Amon JJ, Nedsuwan S, Chantra S, et al. Trends in liver cancer, Sa Kaeo Prov- Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2005;6:382-6.
2. Parkin DM, Bray FI, Devesa SS. Cancer burden in the year 2000. The global pic ture. Eur J Cancer 2001;37Suppl:8:S4-66.
3. Bosch FX, Ribes J, Borras J. Epidemiology of primary liver cancer. Semin Liver Dis 1999;19:271-85.
4. Haswell-Elkins MR, Mairiang P, et al. Clinical and nonimaging diagnosis of hepatocellular carcinoma. Liver cancer 1997, eds: Okuda K, Tabor E. New York : Churchill Livingstone; p.315-59.
5. Vatanasapt V, Sriamporn S, Vatanasapt P. Cancer Control in Thailand. Jpn J Clin Oncol 2002;32suppl:S82-S91.
6. หน่วยงานทะเบียนมะเร็ง กลุ่มงานเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. รายงาน ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล (Hospital- Based Cancer Registry) กรุงเทพฯ : ครีเอทีฟ คอมมอนส์ม 2554.
7. Parkin DM, Whelan J, Ferlay J, Raymond L, Young J. Cancer Incidence in Five Continents, Vol. VII. IARC Scientific Publications No. 143. Lyon:lnternational Agency for Research on Cancer ; 1997: p.440-1.
8. Merican I, Guan R 1Amarapuka D, et al. Chronic hepatitis B virus infection in Asian countries. J Gastroenterol Hepatol 2000;15:1356-61.
9. Nantachit N, Robinson V, Wongthanee A, et al. Temporal trends in the prevalence of HIV and other transfusion transmissible infections among blood donors in northern Thailand, 1990 through 2001. Transfusion 2003;43:730-5.
10. Sato Y, Sekine T, Ohwada S. Alpha-feto protein-producing rectal cancer: calculated tumor marker doubling time. J SurgOncol 1994;55:265-8.
11. Bruix J, Sherman M. Management of Hepatocellular Carcinoma: An Update. Hepatology 2010;0:1-35.
12. Schoniger-Hekele M, Muller C, Kutilek M, Oesterreicher C, Ferenci P, Gangl A. Hepatocellular carcinoma in Austria: etiological and clinical characteristics at presentation. Eur J Gastroenterol- Hepatol 2000;12:941-8.
13. Adachi Y, Tsuchihashi J, Shiraishi N, Yasuda K, Etoh T, Kitano S. AFP-produc- ing gastric carcinoma: multivariate analysis of prognostic factors in 270 patients. Oncology 2003;65:95-101.