ความชุกของการติดเชื้อเอซไอวี ตับอักเสบชนิดบี ตับอักเสบชนิดซี และซิฟิลิส ในผู้บริจาคโลหิต

Main Article Content

เอนก จัดดี

บทคัดย่อ

บทนำ: การจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยจากเชื้อติดต่อทางเลือด ประกอบด้วย การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต ในและการตรวจคัดกรองการติดเชื้อในโลหิตที่ได้รับบริจาคอย่างมีประสิทธิภาาAI
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะการบริจาคโลหิตของสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลศรีสะเกษและความซุกของการติดเชื้อเอซไอวี ตับอักเสบชนิดปี ตับอักเสบชนิดซี และซิฟิลิส รวม ทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับผลการติดเชื้อเอซไอวี ตับอักเสบชนิดปี ตับอักเสบชนิดซี และซิฟิลิสในผู้บริจาคโลหิตชองโรงพยาบาลศรีสะเกษปี พ.ศ. 2555
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเปียนผู้มาบริจาคโลหิตตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 เลือดที่ได้รับบริจาคทุกยูนิตได้รับการตรวจหาเชื้อ เอซไอวี ตับอักเสบ ชนิดปี ตับอักเสบชนิดซี และซิฟิลิส
ผลการศึกษา: ในปี พ.ศ. 2555 มีผู้,บริจาค'โลหิต จำนวน 21,720 ราย เพศหญิงและเพศชาย มีการบริจาคโลหิตในอัตราใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 58.70 และ ร้อยละ 41.30 ตามลำดับ ช่วงอายุ 17-20 ปี มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.50 เกินครึ่งเป็นผู้บริจาคโลหิตครั้งแรก ร้อยละ 52.17 เกือบทั้งหมดเป็นการบริจาคโลหิตที่ไม่เจาะจงผู้รับ ร้อยละ 97.40 พบความซุกชองการติด เชื้อเอซไอวี ร้อยละ 0.10 ตับอักเสบชนิดปี ร้อยละ 1.01 ตับอักเสบชนิดซี ร้อยละ 0.17 ซิฟิลิส ร้อยละ 0.05 เพศชายติดเชื้อทุกชนิดสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เฉพาะการตรวจพบตับอักเสบชนิดปี และ ตับอักเสบชนิดซี เมื่อ เปรียบเทียบตามกลุ่มอายุพบว่า ช่วงกลุ่มอายุ 21 - 30 ปี มีการติดเชื้อตับอักเสบชนิดปี และเอซไอวี มากที่สุด ร้อยละ 1.64 และร้อยละ 0.24 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p-value < 0.05) ในขณะที่กลุ่มอายุ 17 - 20 ปี พบการติดเชื้อทุกชนิดน้อยที่สุด ร้อยละ 0.65
สรุป: ผลการศึกษา ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโรคติดเชื้อจากเอซไอวีและตับอักเสบชนิดปี ยังเป็นปัญหาในประซาซนจังหวัดศรีสะเกษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคลังเลือดควรให้ความรู้ตลอดจน จัดบริการให้คำปรึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประซาซนกลุ่มอายุ 21 - 30 ปี เกี่ยวกับโรค ติดเชื้อดังกล่าว ในด้านการปีองกันการแพร่เชื้อทางเลือดและเพศสัมพันธ์และให้การดูแล ในผู้ติดเชื้อ ตลอดจน ติดตามผู้บริจาคโลหิตที่ติดเชื้อ ในการให้คำแนะนำในการดูแล สุขภาพ นอกจากนี้คลังเลือดต้องมีกระบวนการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อปีองกัน การบริจาคซํ้าในผู้ที่เคยตรวจพบการติดเชื้อมาก่อน
คำสำคัญ: ผู้บริจาคโลหิต, ผู้บริจาคโลหิตที่ไม่เจาะจงผู้รับ, ผู้บริจาคโลหิตทดแทน, ไวรัสเอชไอวี, ตับอักเสบชนิดปี, ตับอักเสบชนิดซี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Standards for Blood Banks and Transfusion Services. 2nd ed. Bangkok : Thai Red Cross Society; 2008.
2. Brecher ME. Technical manual. 14th ed. Bethesda, Maryland: American Association of Blood Banks;1953-2003: p. 92-5.
3. ชัยเวช นุชประยูร. National policy on the safety of blood product คำบรรยายประกอบการประชุมวิชาการใหญ่ ประจำปี 2540: Transfusion Medicine Towards the Millennium. กรุงเทพๆ : ธรรมสาร; 2540. หน้า 196-202.
4. ประภานี รัตนมาศ, สันติ เสียมไหม, อุไรวรรณ หีบใบ. อัตราการติดเชื้อในกลุ่มผู้บริจาคโลหิต การกุศลและกลุ่มผู้บริจาคโลหิตทดแทนในหน่วยคลังเลือด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์สาร 2548;151-6.
5. เครือมัน สาวแดง, ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ. ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซีและซิฟิลิสในผู้บริจาคโลหิต : การเฝ้าระวังเพื่อพัฒนาการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2555; 22: 83-91.
6. Urwijitaroon Y. Donor selection: Strategy for reduction of transfusion risk. Thai J Hemat Trans Med 2007;17:145-53.