ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

นิตยา ธีรวิโรจน์
สุจิตรา สุขผดุง
ไกรวุฒิ สุขสนิท

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปอดอักเสบในโรงพยาบาล (Hospital-acquired pneumonia : HAP) เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยเป็นลำดับต้นๆ ส่งผลให้นอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นบางรายเข้าสู่ภาวะวิกฤติจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอุบัติการณ์เกิดขึ้นประมาณ 0.9 คน ต่อ 1,000 วันนอนในผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันการเกิด HAP สำหรับผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และศึกษาผลของการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันการเกิด HAP สำหรับผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระดมสมองศึกษาทบทวนปัญหาการเกิด HAP ทบทวนแนวทางปฏิบัติเดิม สืบค้นวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมให้ความรู้พยาบาลวิชาชีพทุกคนเรื่อง การป้องกันการเกิด HAP สรุปแนวทางปฏิบัติ ระยะที่ 2 นำแนวทางปฏิบัติลงสู่การปฏิบัติ ระยะที่ 3 ประเมินผล ระยะที่ 4 ปรับปรุง เรียนรู้พัฒนาร่วมกันและประเมินผลเพื่อประกาศใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก สามัญ 20 คน สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิงที่กระดูกรอบสะโพกหัก จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม–ธันวาคม พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่า มีการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติร้อยละ 93.7 กลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 รายไม่พบการเกิด HAP เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการศึกษาในปีงบประมาณ 2556 - 2558 ซึ่งพบการเกิด HAP 0.4, 0.9 และ 0.6 ต่อ 1,000 วันนอนตามลำดับ
สรุป: การป้องกันการเกิด HAP ผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักตั้งแต่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน นำแนวทางปฏิบัติลงสู่การปฏิบัติจริง มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สามารถป้องกันการเกิด HAP ได้
คำสำคัญ: ปอดอักเสบในโรงพยาบาล, แนวทางปฏิบัติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วิศิษฎ์ อุดมพาณิชย์. ปอดบวมที่เกิดในโรงพยาบาล. ใน: วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ป่วยในที่เป็นปัญหา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537:180-9.

2. Bergogne-Bérézin E. Current guidelines for the treatment and prevention of nosocomial infections. Drugs 1999;58(1):51-67.

3. Strausbaugh LJ. Nosocomial respiratory infection. In: Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. editors. Principle and practice of infectious disease. 5th. ed. Philadelphia: Churchill-Livingstone;2000:3020-8.

4. อนุชา อภิสารธนรักษ์. โรคปอดอักเสบที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล. ใน: พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย, สุรภี เทียนกริม, ยุพิน ศุพุทธมงคล, ศศิธร ลิขิตนุกูล และคณะ. ตำราโรคติดเชื้อ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2548:1369-82.

5. Kashuba AD, Nafziger AN, Drusano GL, Bertino JS Jr. Optimizing aminoglycoside therapy for nosocomial pneumonia caused by gram-negative bacteria. Antimicrob Agents Chemother 1999;43(3):623-9.

6. The American Thoracic Society and the Infectious Diseases Society of Ameri ca. Gui deli nes f or the management of adults with hospitalacquired, ventilator-associated, and healthcare-associated pneumonia. Am J Respir Crit Care Med 2005;171:388-416.

7. Chao-Hsien Lee, Chien-Liang Wu. An Update on the Management of Hospital-Acquired Pneumonia in the Elderly. Int J Gerontol 2008;2(4):183-95.

8. วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558;2(1):29-49.

9. Cochran W.G. Sampling technique. New York: John Wiley & Son. Inc.; 1953.

10. Tablan OC, Anderson LJ, Besser R, Bridges C, Hajjeh R; CDC, et al. Guidelines for preventing health-care--associated pneumonia, 2003: recommendations of CDC and the Healthcare Infection Control Practices Advisory Committee. MMWR Recomm Rep 2004;53(RR-3):1-36.

11. วิรชัช สนั่นศิลป์. “โรคกระดูกพรุน: ถาม-ตรวจ-รักษา-ป้องกันได้”. สถานการณ์โรคกระดูกพรุน ปี 2555: หักครั้งเดียวก็เกินพอ. [ออนไลน์]. [ ค้นเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2560]. ; เข้าถึงได้จาก:URL:https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2218-2555.html

12. Med Thai. โรคกระดูกพรุน. (ออนไลน์). [ค้นเมื่อ 21 มี.ค.2560].; เข้าถึงได้จาก:URL: https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99/.

13. Burton LA, Price R, Barr KE, McAuley SM, Allen JB, Clinton AM, et al. S13 Incidence And Risk Factors For The Development Of Hospital Acquired Pneumonia In Older Hospitalised Patients. Thorax 2014;69(suppl 2):A9-A10.

14. Masterton RG, Galloway A, French G, Street M, Armstrong J, Brown E, et al. Guidelines for the management of hospital-acquired pneumonia in the UK: report of the working party on hospital-acquired pneumonia of the British Society for Antimicrobial Chemotherapy. J Antimicrob Chemother 2008;62(1):5-34.

15. Segers P, Speekenbrink RG, Ubbink DT, van Ogtrop ML, de Mol BA. Prevention of nosocomial infection in cardiac surgery by decontamination of the nasopharynx and oropharynx with chlorhexidine gluconate: a randomized controlled trial.JAMA 2006;296(20):2460-6.

16. ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ (Dysphagia in Elderly). เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2556;23(3):73-80.
17. Bergin C, Speroni KG, Travis T, Bergin J, Sheridan MJ, Kelly K, et al. Effect of preoperative incentive spirometry patient education on patient outcomes in the knee and hip joint replacement population. J Perianesth Nurs 2014;29(1):20-7.

18. Wren SM, Martin M, Yoon JK, Bech F. Postoperative pneumonia-prevention program for the inpatient surgical ward. J Am Coll Surg 2010;210(4):491-5.

19. Ramkumar Venkateswaran, Prasad KN. Management of postoperative pain. Indian J. Anesth 2006;50(5):345-54.

20. Stolbrink M, McGowan L, Saman H, Nguyen T, Knightly R, Sharpe J, et al. The Early Mobility Bundle: a simple enhancement of therapy which may reduce incidence of hospital-acquired pneumonia and length of hospital stay. J Hosp Infect 2014;88(1):34-9.