การศึกษาความตรงและความเที่ยงของโกนิโอมิเตอร์แบบประยุกต์ในการวัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า

Main Article Content

ธัญชนก ดำริห์
จีระนันท์ มะโนมัย
ตติยา เพ็งชัย

บทคัดย่อ

บทนำ: โกนิโอมิเตอร์เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัดใช้สำหรับวัดช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ในทางคลินิกนิยมใช้โกนิโอมิเตอร์แบบมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ในการติดตามผู้ป่วยเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ง่าย สะดวก และราคาไม่แพงวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความตรงและความเที่ยงของโกนิโอมิเตอร์แบบประยุกต์ (Developed goniometer, DG) ในการวัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า
ประชากรศึกษา: อาสาสมัครจำนวน 50 ราย อายุระหว่าง 18 - 70 ปี เฉลี่ย 38.6 ±5.6 ปีไม่เคยมีประวัติกระดูกหักหรือบาดเจ็บที่ข้อเข่า กระดูกสะบ้าและกระดูกปลายขา
ระยะเวลาที่ทำการศึกษา: 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 กันยายน พ.ศ.2561
วิธีการศึกษา: อาสาสมัครจำนวน 50 ราย ได้รับการวัดช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าในท่า knee flexion ด้วย DG และ (Universal Goniometer, UG)
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของ knee flexion ที่วัดด้วย DG (134.1 ±11.7) และ UG (131.9 ±6.2) มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.77, p<0.05) ส่วนผลการศึกษาความเที่ยงตรงของ DG เมื่อเทียบกับ UG พบว่าค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวของ knee flexion ที่วัดด้วย DG และ UG มีค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)
สรุปผลการศึกษา: โกนิโอมิเตอร์แบบประยุกต์มีความตรงและความเที่ยงในการวัดการเคลื่อนไหวของ knee flexion
คำสำคัญ: โกนิโอมิเตอร์แบบประยุกต์ ช่วงการเคลื่อนไหวข้อเข่า ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Bronzino JD, editor. Biomedical engineering handbook. 2nd ed. Florida: CRC Press LLC; 2000.

2. Clarkson HM. Musculoskeletal assessment : Joint range of motion and manual muscle strength. 2nd.ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2000.

3. Reese NB, Bandy WD. Joint range of motion and muscle length testing. 2nd. ed. Canada : Saunders Elsevier; 2010.

4. Denis M, Moffet H, Caron F, Ouellet D, Paquet J, Nolet L. Effectiveness of continuous passive motion and conventional physical therapy after total knee arthroplasty: a randomized clinical trial. Phys Ther 2006;86(2):174-85.

5. ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2556;16(2):9-16.