ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ในโรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

อภิสรรค์ บุญประดับ
วรรณพัชร พิศวงศ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์ จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาและวางแนวทางการป้องกันเพื่อชะลอไตเสื่อมในอนาคตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ของผู้ป่วยในเขตอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 และความชุกของภาวะไตวายเรื้อรังระยะต่างๆ ในผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคไตเรื้อรัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ทำการศึกษา ทั้งหมด 1,210 ราย เมื่อคำนวณด้วยสมการ CKD-EPI พบผู้ป่วยมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ทั้งหมด 412 รายพบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 3-5 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปีจะมีความเสี่ยงเป็นภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 1.1 เท่า (95% CI 1.0-1.1) และกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น 1 หน่วย จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า (95% CI 1.3-2.1) นอกจากนี้พบว่ามีปัจจัยอื่นๆที่อาจจะมีผลต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังมากกว่าเพศชาย 1.5เท่า (95% CI 0.7-3.2)โรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า (95% CI 0.1-14.6) และโรคไขมันในเลือดสูงมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 2.0 เท่า (95% CI 0.8-5.2)
สรุป: เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในพื้นที่ที่รับผิดชอบแล้วทำให้สามารถวางแผนการดูแลผู้ป่วยเพื่อชะลอไตเสื่อม ไม่ให้เข้าสู่ระยะที่ต้องรับการบำบัดทดแทนไต และวางแนวทางป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่
คำสำคัญ: ภาวะไตวายเรื้อรัง การแบ่งระยะของไตวายเรื้อรังตามระดับของ eGFR

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2558[ออนไลน์] 2558[สืบค้น 10 ก.ค. 2558]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://www.nephrothai.org/knowledge/news. asp?type=KNOWLEDGE&news_id=441

2. Coresh J, Selvin E, Stevens LA, Manzi J, Kusek JW, Eggers P, et al. Prevalence of chronic kidney disease in the United States. Jama 2007;298(17):2038-47.

3. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. Thailand Renal Replacement Therapy Registry Report 2012 [ออนไลน์] 2555 [สืบค้น 27 ก.พ. 2558]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://www.nephrothai.org/trt/ trt.asp?type=TRT&news_id=418

4. Chittinandana A, Chailimpamontree W, Chaloeiphap P. Prevalence of chronic kidney disease in Thai adult population. J Med Assoc Thai 2006; 89(Suppl 2):S112-20.

5. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25(5):1567-75.

6. Levey AS, Stevens LA, Schmid CH, Zhang YL, Castro AF, 3rd, Feldman HI, et al. A new equation to estimate glomerular filtration rate. Ann Intern Med 2009;150(9):604-12.

7. Domrongkitchaiporn S, Sritara P, Kitiyakara C, Stitchantrakul W, Krittaphol V, Lolekha P, et al. Risk factors for development of decreased kidney function in a southeast Asian population: a 12-year cohort study. J Am Soc Nephrol 2005;16(3):791-99.

8. Johnson RJ, Nakagawa T, Jalal D, Sanchez-Lozada LG, Kang DH, Ritz E. Uric acid and chronic kidney disease: which is chasing which? Nephrol Dial Transplant 2013;28(9):2221-8.

9. Verhave JC, Fesler P, Ribstein J, du Cailar G, Mimran A. Estimation of Renal Function in Subjects With Normal Serum Creatinine Levels: Influence of Age and Body Mass Index. Am J Kidney Dis 2005;46(2):233-41.

10. Shen Y, Cai R, Sun J, Dong X, Huang R, Tian S, et al. Diabetes mellitus as a risk factor for incident chronic kidney disease and end-stage renal disease in women compared with men: a systematic review and meta-analysis. Endocrine 2017;55:66–76.

11. Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) CKD Work Group. KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease. Kidney Int 2013; Suppl: 1-150.