ผลของโปรแกรมฝึกเดินที่บ้านต่อความสามารถด้านการเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน

Main Article Content

ธัฏษิณา ใจเสน
รัตนาภรณ์ จามชาติ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของความพิการ ซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักพบความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวทางการเดิน จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการเคลื่อนไหวหรือการฝึกเดินแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลได้สั้นลงหากผู้ป่วยไม่กลับไปฝึกเพิ่มเติมที่บ้าน โอกาสที่จะกลับมาเดินได้เหมือนคนปกติจะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเดิน และการลดต้นทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ช่วยเดิน ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกเดินที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: ระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 ถึง มีนาคม พ.ศ.2562 อาสาสมัครเป็น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 80 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ใช้ไม้เท้าขาเดียว และกลุ่มที่ 2 ใช้ไม้เท้าสามขาซึ่งจะได้รับโปรแกรมเดินที่บ้าน 6 เดือน และการประเมินความสามารถในการเดินทุกเดือน โดยใช้การทดสอบการเดินระยะทาง 10 เมตร และการลดต้นทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ช่วยเดินทั้งก่อนและหลังได้รับโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูลความสามารถด้านการเดินใช้ paired T-test และการลดต้นทุนวัสดุอุปกรณ์ช่วยเดินด้วยร้อยละ
ผลการศึกษา: หลังได้รับโปรแกรมการฝึกเดิน พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความสามารถด้านการเพิ่มขึ้น และต้นทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ช่วยเดินลดลง โดยกลุ่มที่เดินโดยใช้ไม้เท้าขาเดียวเดินได้เร็วขึ้น 0.42+0.07 เมตร/วินาที ต้นทุนค่าวัสดุลดลง 3,040 บาท และกลุ่มที่เดินโดยใช้ไม้เท้าสามขา เดินได้เร็วขึ้น 0.35+0.06 เมตร/วินาที ต้นทุนค่าวัสดุลดลง 8,550 บาท
สรุป: โปรแกรมฝึกเดินที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ดีและประสิทธิภาพ ควรฝึกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเพิ่มความสามารถการเดินและลดต้นทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ช่วยเดินร่วมด้วย ข้อเสนอแนะบุคลากรทางการแพทย์ควรให้คำแนะนำและติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบต่างๆ
คำสำคัญ: ฝึกเดิน โรคหลอดเลือดสมอง อุปกรณ์ช่วยเดิน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. โรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง.[ออนไลน์]. [สืบค้น 3 พ.ค. 2559] เข้าถึงได้จาก URL:https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1256_1.pdf

2. พัชรี คุณค้ำชู. การฝึกเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2555;12(2):370-5.

3. รัตนาพรรธณ์ จันทร์อุบล, ภาริส วงศ์แพทย์, ลาวัลย์ พานิชเจริญ, นภาพิตร ชวนิชย์. การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซึกจากโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลันโดยการใช้หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินเปรียบเทียบกับวิธีกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2555;22(2):42-50.

4. จรรยา ชวดทอง, กิติยวดี ศรีสิม, ดลยา พรหมแก้ว, สุกัลยา อมตฉายา , วิไลรัตน์ แสนสุข.ความสามารถในการมีส่วนร่วมในชุมชนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เดินโดยใช้และไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยเดิน. ศรีนคินทร์เวชสาร 2557;29(3):263-8.

5. ดลฤดี ศรีศุภผล, ภคอร สายพันธ์, ปิยวรรณ ปานทอง, ชุติภา วรฤทธานนท์. ประสิทธิผลของการฝึกเดินโดยใช้จังหวะควบคุมในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารกรมการแพทย์ 2559;41(1):94-103.

6. ถกลวรรณ ร่าเริงยิ่ง. ผลของการฝึกเดินบนลู่วิ่งสายพานร่วมกับการพยุงน้ำหนักของร่างกายในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก. 2546 [ออนไลน์]. [สืบค้น 3 พ.ค. 2559] เข้าถึงได้จาก URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11563.

7. น้อมจิตต์ นวลเนตร์. หลักการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2550.