การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ : รายงานผู้ป่วย

Main Article Content

ปาจรีย์ ศรีไทย

บทคัดย่อ

     ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เป็นหนึ่งในความพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุดบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านกายภาพ จิตใจและสังคม ดังนั้นการดูแลและการรักษาที่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบความผิดปกติของฟัน และพบปัญหาทันตสุขภาพโดยเฉพาะฟันผุสูงกว่าเด็กปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นทันตแพทย์จึงมีบทบาทสำคัญมากในการป้องกันและดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้คงอยู่ในสภาวะที่ดี เพื่อให้สามารถใช้งานบดเคี้ยว คงสภาพการเรียงของฟันและการสบฟันเพื่อให้เอื้อต่อการรักษาทางการศัลยกรรมและจัดฟันต่อไป
     ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 6 ปี มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่แต่กำเนิด มาพบทันตแพทย์ด้วยอาการปวดและบวมแก้มซ้าย ผู้ป่วยได้รับการตรวจ วางแผน และทำรักษาแบบทันตกรรมพร้อมมูล หลังติดตามผลการรักษาพบว่าเป็นที่น่าพอใจ
คำสำคัญ: ปากแหว่งเพดานโหว่ การรักษาทางทันตกรรม ความพิการบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. Mossey PA, Little J, Munger RG, Dixon MJ, Shaw WC.Cleft lip and palate. Lancet 2009;374(9703):1773-85.

2. Murray JC. Gene/environment causes of cleft lip and/or palate. Clin Genet 2002;61(4):248-56.

3. Vanderas AP.Incidence of cleft lip, cleft palate, and cleft lip and palate among races: a review. Cleft Palate J. 1987;24(3):216-25.

4. ถวัลย์วงค์ รัตนสิริ, นพัสร จันทธำรงวัฒน์, สมนึก อภิวันทนกุล, จำรัส วงศ์คำ, บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น. อุบัติการณ์ของการคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พ.ศ.2533-2542. ศรีนครินทร์เวชสาร 2544;16(1):3-7.

5. Pangkanon S, Sawasdivorn S, Kuptanon C, Chotigeat U, Vandepitte W. Establishing of National Birth Defects Registry in Thailand. J Med Assoc Thai. 2014;97 (Suppl 6):S182-8.
6. Jones MC. Etiology of facial clefts: prospective evaluation of 428 patients. Cleft Palate J 1988;25(1):16-20.

7. Posnick JC, Ruiz RL. Treacher Collins syndrome: current evaluation, treatment, and future directions. Cleft Palate Craniofac J 2000;37(5):434.

8. Rizos M, Spyropoulos MN. Van der Woude syndrome: a review. Cardinal signs, epidemiology, associated features, differential diagnosis, expressivity, genetic counselling and treatment. Eur J Orthod 2004;26(1):17-24.

9. Jensen BL, Kreiborg S, Dahl E, Fogh-Andersen P. Cleft lip and palate in Denmark, 1976-1981: epidemiology, variability, and early somatic development. Cleft Palate J 1988;25(3):258-69.

10. เบญจมาศ พระธานี. ภาษาพูดและการได้ยินของบุคคลปากแหว่งเพดานโหว่. ขอนแก่น: ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

11. Shah CP, Wong D. Management of children with cleft lip and palate. Can Med Assoc J 1980;122(1):19-24.

12. ศันสนีย์ อนันต์สกุลวัตน์, นิตา วิวัฒนทีปะ,บรรณาธิการ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปากแหว่งเพดานโหว่.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิทันตกรรมจัดฟันแห่งประเทศไทย; 2546.

13. มารศรี ชัยวรวิทย์กุล, วไลเชตวัน,สหธัชแก้วกำเนิด, วริศราศิริมหาราช, กฤษณ์ ขวัญเงิน.การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่สำหรับทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟัน เล่มที่ 1. เชียงใหม่ : ทรีโอ แอคเวอร์ไทซิ่งแอนด์ มีเดีย; 2555.

14. Wright GZ. Children’s behavior in the dental office. In: Wright GZ, editor. Behavior management in dentistry for children. Philadelphia : W.B. Saunders; 1975:55-72.