คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน

Main Article Content

มนัสวี ให้ศิริกุล

บทคัดย่อ

บทนำ: การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในระบบผู้ป่วยในมีระยะการฟื้นฟูเฉลี่ย3-5วันโดยได้รับการแนะนำทางกายภาพบำบัดเบื้องต้น แต่ยังขาดการติดตามประเมินผู้ป่วยเมื่อพักฟื้นที่บ้าน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเมื่อกลับพักฟื้นที่บ้าน และเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเมื่อกลับพักฟื้นที่บ้าน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่พักรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมพ.ศ.2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2561ติดตามผู้ป่วยภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และกลับไปฟื้นฟุสมรรถภาพร่างกายต่อเนื่องที่บ้าน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ราย อายุระหว่าง 21-68 ปี ค่ามัธยฐาน 38.5 ปี(21,68) พบว่าผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันก่อนกลับบ้านเมื่อกลับพักฟื้นที่บ้านค่ามัธยฐาน11คะแนน และ25.5คะแนนตามลำดับ และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตปานกลาง 8 รายคุณภาพชีวิตไม่ดี2 รายมีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยต้องการความรู้ในการฟื้นฟูที่มีความเจาะจง และการฝึกอาชีพ
สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่ำ ต้องพึ่งพิงผู้อื่นบ่งถึงผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูเพื่อเพิ่มความสามารถไม่เพียงพอควรเตรียมความพร้อมผู้ป่วยตั้งแต่อยู่โรงพยาบาล เพิ่มการฟื้นฟูผู้ป่วยในเชิงรุกเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแนะนำการฝึกอาชีพแก่ผู้ป่วย
คำสำคัญ: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง คุณภาพชีวิต ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Wyndaele M, Wyndaele JJ. Incidence, prevalence and epidemiology of spinal cord injury: what learns a worldwide literature survey?. Spinal Cord 2006;44:523-9.

2. ประพันธ์พงศ์ คณิตานนท์, พิมพ์ใจ สุวรรณพฤกษ์, จุฬาลักษณ์ สอนดิษฐ์. แนวทางการฟื้นฟูผู้บาดเจ็บ/คนพิการจากอุบัติเหตุทางถนน. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2555.

3. นคัมยภรณ์ ชูชาติ, รัตนา วิเชียรศิริ, ปรีดา อารยาวิชานนท์, ณัฐเศรษฐ มนิมนากร. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจากอุบัติเหตุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2558;25(1):15-21.

4. ดุษฎี อายุวัฒน์. มาตรวัดคุณภาพชีวิต: ศึกษากรณีประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารประชากรศาสตร์ 2548;21:41-62.

5. ทศพล ดีเลข, ปิยกานต์ พัฒนวงศ์, ณัฐพร พุทธิเมธี, รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี, นภสร จรูญศรีโชติกำจร, วลี โชคชัยชำนาญกิจและคณะ. ปัญหาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยอัมพาต ณ หมู่บ้านโนนม่วง ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2548; 20(4):202-7.

6. กิ่งเพ็ชร วงส์พิแชษฐ์. การพยาบาลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550;22:99-100.

7. อภิชนา โฆวินทะ, กัลยาณี ยาวิละ. สภาพและปัญหาของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไขสันหลังภายหลังการถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. เชียงใหม่เวชสาร 2541;37(3-4):49-57.

8. ภัทรา วัฒนพันธุ์, ชื่นชนก นิพิฐวัธนะผล, รัตนา วิเชียรศิริ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลังที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2553;20:46-51.

9. Dajpratham P, Kongkasuwan R. Quality of life among the traumatic Spinal Cord Injured Patients. J Med Assoc Thai 2011;94:1252-9.

10. วรุณนภา ศรีโสภาพ, ฉลองพันธุ์ กนกพงศ์. ผลการฝึกกายภาพบำบัดผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บที่บ้านโดยผู้ดูแลหลักและอาศาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พุทธชินราชเวชสาร 2554;28(1):51-9.

11. จิรพรรณ โพธิ์ทอง, อาภรณ์ ดีนาน, รัชนี สรรเสริญ. ประสิทธิผลของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวแบบบูรณาการในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(2):232-41.

12. ไปยดา วงศ์ภากร, อภิชนา โฆวินทะ. ปัจจัยบ่งชี้และอัตราการมีงานทำของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2557;24:28-36.

13. ศมนรักษ์ สุวรรณทรัพย์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, วรรณรัตน์ ลาวัง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการเคลื่อนไหวในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559;9(3):20-35.