ผลของโปรแกรมการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาที่มีต่อสัญญาณพฤติกรรมของทารกและความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกขณะอยู่โรงพยาบาล

Main Article Content

ระวีวัฒน์ นุมานิต
กิติยา กมลตรี
เจษฏา หรบรรห์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การนวดสัมผัสทารกเพิ่มความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดและระบบทางเดินอาหาร เพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ช่วยการย่อยและการขับถ่ายให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบสัญญาณพฤติกรรมของทารกได้แก่ ระดับไมโครบิลิรูบิน น้ำหนักทารก ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะคะแนนเฉลี่ยความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการนวดสัมผัสทารกโดยมารดากับกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติ
สถานที่ศึกษา: หอผู้ป่วยพิเศษสูตินรีเวชกรรมชั้น 6 โรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: วิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง ช่วงระยะเวลา 3 วันหลัง คลอดขณะอยู่ในโรงพยาบาล
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกหลังคลอด 50 คู่ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คู่ คัดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ศึกษาระหว่างมกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2562เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนทั่วไปของมารดาและทารก แบบวัดความรู้สึกรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก แบบสังเกตพฤติกรรมความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาทารกขณะให้นมทารกและแบบบันทึกสัญญาณพฤติกรรมทารก ส่วนที่ 2เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการนวดสัมผัสทารก ประกอบด้วย ได้แก่ วิดีโอและคู่มือการนวดสัมผัสทารกสำหรับมารดา แผนการสอนมารดาหลังคลอดสำหรับพยาบาล ตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามความรู้สึกรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก และแบบสังเกตพฤติกรรมความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาทารกขณะให้นมทารก ทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.7 และ0.8 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test, Independent t-test
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีความถี่การถ่ายอุจจาระเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมในวันที่สามของการนวดสัมผัสทารกซึ่งเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีระดับไมโครบิลิรูบินลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมในวันที่สามของการนวดสัมผัสทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีคะแนนเฉลี่ยความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างเกี่ยวกับน้ำหนักตัว ความถี่การถ่ายปัสสาวะระหว่างสองกลุ่ม
สรุป: โปรแกรมการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยลดระดับไมโครบิลิรูบินและเพิ่มความถี่ในการถ่ายอุจจาระในทารกแรกเกิด ทั้งยังส่งเสริมมารดาให้มีความรักใคร่ความผูกพันต่อทารกเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่เหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ: การนวดสัมผัสทารกสัญญาณพฤติกรรมของทารก ความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อำนาจ พิพาต. ผลโปรแกรมของการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาต่อความรักความผูกพันระหว่างมารดาและทารกและน้ำหนักตัวทารก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

2. พัศนีย์ รัตนโอภาส. ผลการกระตุ้นโดยการสัมผัสต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต], คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิด; 2531.

3. Moor. Newborn Family and Nurse. Philadelphia: WB.Saunders Co,1981.

4. Lin CH, Yang HC, Cheng CS, Yen CE. Effects of infant massage on jaundiced neonates undergoing phototherapy. Ital J Pediatr 2015;41:94.

5. Dieter JN, Field T, Hernandez-Reif M, Emory EK, Redzepi M. Stable preterm infants gain more weight and sleep less after five days of massage therapy. J Pediatr Psychol 2003;28(6):403-11.

6. สุอารี ล้ำตระกูล. ประสิทธิผลของการนวดสัมผัสร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์กับทารก ต่อความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกแรกเกิดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต], สาขาการพยาบาลเด็ก, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551.

7. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2553.

8. ปีเตอร์ วอล์กเกอร์. สัมผัสลูกน้อยด้วยการนวด. อำนาจ บาลี, ผู้แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์; 2547.

9. Klaus MH., Kennell JH. Parent-Infant bonding. 2nd. ed. St.Louis: C.V.Mosby; 1982.

10. พรพรรณ จงปราณี. ปัจจัยการคัดสรร แรงสนับสนุนทางสังคมกับความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกในมารดาวัยรุ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

11. Blackburn S. Fostering behavioral development of high-risk infants. JOGN Nurs 1983;12(3 Suppl):76s-86s.

12. ขนิษฐา จรัสวิศิษฎ์กุล, ทัศพร ชูศักดิ์. ผลการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาที่มีต่อการเจริญเติบโตของทารกและความผูกพันระหว่างมารดาและทารก ของทารกที่มีภาวะป่วยโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2561;13(1):76-86.

13. บุณณดา วงค์จารุพรรณ, วรัตมา สุขวัฒนานนท์, โสภา ผดุงสิทธิ์โชค, สุชาดา ธนะพงศ์พร, จริยา โล่คำ, มิรา โครานา. ผลการนวดสัมผัสต่อความรักผูกพันระหว่างมารดาทารก และสัญญาณพฤติกรรมของทารกเกิดก่อนกำหนด. กุมารเวชศาสตร์ 2550;14(1):27-34.