การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสตึก และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อารีย์ นิสภนันต์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก ปริมาณผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปีส่งผลในเกิดความแออัดในโรงพยาบาล ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิให้มีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาล แต่ด้วยบริบทที่แตกต่างกันของคลินิกโรคเรื้อรังที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลและเครือข่ายระบบบริการปฐมภูมิ เช่น ทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยที่รับบริการและสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ระยะทางในการเดินทางมารับบริการของผู้ป่วย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังและเครือข่ายระบบบริการปฐมภูมิในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาตามมาตรฐานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนซึ่งรับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสตึกและเครือข่ายระบบบริการปฐมภูมิ ได้แก่ คลินิกหมอครอบครัวตำบลนิคม คลินิกหมอครอบครัวสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลหนองใหญ่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในอำเภอสตึก
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสตึก
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนซึ่งรับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสตึกและเครือข่ายระบบบริการปฐมภูมิอำเภอสตึก จำนวน 2,197 คน
วิธีการทำวิจัย: การเก็บข้อมูลใช้แบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปี
ครั้งล่าสุดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนซึ่งได้จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โรงพยาบาลสตึกซึ่งบันทึกตั้งแต่ 1ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 15 มีนาคมพ.ศ. 2561 แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการรักษาด้วย Chi-square test และ One Way ANOVA โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าการควบคุมHDL (p=0.004) SBP (p=0.017) DBP (p=0.019), BMI (p=0.022)มีความสัมพันธ์กับหน่วยบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคลินิกหมอครอบครัวตำบลนิคมควบคุมHDLได้มากที่สุดคลินิกหมอครอบครัวสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลหนองใหญ่ควบคุมค่า SBP DBP และ BMIได้มากที่สุดและค่าเฉลี่ยFBS(p=0.020) BMI (p=0.004)มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยพบว่าคลินิกหมอครอบครัวตำบลนิคมมีค่าเฉลี่ย FBS ต่ำกว่าและค่าเฉลี่ย BMI สูงกว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
สรุป: กระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกหมอครอบครัวตำบลนิคมและคลินิกหมอครอบครัวสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลหนองใหญ่เป็นกระบวนการที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
คำสำคัญ: โรคเบาหวาน คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World health organization resources page. Diabetes .[online] 2017 November . [cited May 13, 2018].Available from : URL:https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/diabetes.

2. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2559:20.

3. วรรณีนิธิยานันท์. รักษาเบาหวานให้ถึงเป้าหมาย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น 13พ.ค. 2518]. เข้าถึงได้จาก .URL: https://www.autofocusnews.com/บทความสุขภาพ/การแพทย์/รักษาเบาหวานให้ถึงเป้าหมาย.

4. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การพัฒนาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550;1(3-4):216-23.
5. โสภณ เมฆธน และคณะ.แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.

6. ศาสตรา เข็มบุบผา.ผลการจัดบริการผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพหนองหงส์จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2559. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2560;32(2):101-16.

7. จาตุรนต์ ตั้งสังวรธรรมะ, สมศักดิ์ วสุวิทิตกุล, สุธีร์ รัตนมงคลกุล. การศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตามเกณฑ์มาตรฐานสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2556;20(1):29-40.

8. วินัย ปะสิ่งชอบ. การรักษาผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558;22(1):21-33.

9. กอบกุล ยศณรงค์.รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานสู่ระบบบริการระดับปฐมภูมิในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6(2):290-7.

10. Yamanae T. Statistics: an IntroductoryAnalysis. 2nd.ed. New York: Harper and Row; 1967.

11. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี : บริษัท ร่มเย็น มีเดียจำกัด; 2560.

12. คณะกรรมการ Service plan สาขาโรคเรื้อรังจังหวัดบุรีรัมย์. แนวทางการส่งต่อเบาหวานหน่วยบริการจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2559.

13. เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย.อ้วนและอ้วนลงพุง. กรุงเทพฯ : บริษัทสุขุมวิทมีเดียมาร์เก็ตติ้งจำกัด; 2554.

14. วิชัย เทียนถาวร.ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : นโยบาย สู่ การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

15. สมาคมโรคหลอดแดงแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2559. ปทุมธานี : เอ-พลัสพริ้น; 2560.

16. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป 2555 ปรับปรุง2558. กรุงเทพฯ : ฮั้วน้ำพริ้นติ้ง จำกัด; 2558.