ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในมารดาหลังคลอด

Main Article Content

กรรณิกา เพ็ชรักษ์
อุตม์ชญาน์ อินทเรือง
ฝนทอง จิตจำนง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การคลอดก่อนกำหนดเป็นการคลอดในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ถึงก่อน 37 สัปดาห์ ในแต่ละปีทั่วโลกพบทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดประมาณ 13 ล้านคน และในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ปี 2555 – 2558 พบร้อยละ 7.0 6.8 8.5 และ 9.3 ตามลำดับ ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดถือเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทั้งต่อมารดาและทารก รวมถึงการรักษามารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นเวลาหลายวัน เพื่อยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดและป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมารดาจะต้องได้รับทั้งยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ยาที่กระตุ้นการทำงานของปอดทารกในครรภ์ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ และหากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่โพรงมดลูกสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีภาวะถุงน้ำคร่ำแตก จากปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่พบเกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดในปัจจุบันแต่ละโรงพยาบาลพยายามผลักดันให้บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถให้ให้คำแนะนำและการบริการที่ถูกต้องแก่หญิงตั้งครรภ์ แต่ปัญหาและอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนดกลับไม่ได้ลดลง และยิ่งมีโอกาสรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การคลอดก่อนกำหนด กับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด
สถานที่ศึกษา: แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ (Descriptive correlational research)
กลุ่มตัวอย่าง: เป็นมารดาหลังคลอดที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ G* power ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 111 คน
วิธีการทำวิจัย: เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับมารดาหลังคลอด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามการรับรู้การคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด และส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด ระหว่างเดือนมีนาคม - กรกฎาคม พ.ศ.2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson’s Product Moment Correlation Co-efficient
ผลการศึกษา: มารดาหลังคลอดมีการรับรู้การคลอดก่อนกำหนดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\inline&space;\fn_cm&space;\bar{x} = 2.7, SD = 0.3) มีพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\inline&space;\fn_cm&space;\bar{x} = 2.3, SD = 0.3) การรับรู้การคลอดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.433, p < 0.001)
สรุป: ควรส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่ถูกต้อง
คำสำคัญ: การรับรู้ การคลอดก่อนกำหนด พฤติกรรม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อุ่นใจ กออนันตกุล. การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : ชานการพิมพ์; 2551.

2. Simmons LE, Rubens CE, Darmstadt GL, Gravett MG. Preventing preterm birth and neonatal mortality: exploring the epidemiology, causes, and interventions. Semin Perinatol 2010;34(6):408-15.

3. พรรณี พิณตานนท์, กาญจนา คำดี, อัจฉรา วโรภาษ, สุรพันธ์ แสงสว่าง. รายงานการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่10 เชียงใหม่. เชียงใหม่ : งานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่; มปพ.

4. โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี. สุรินทร์ : เวชระเบียนแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์; 2555.

5. โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี. สุรินทร์ : เวชระเบียนแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์; 2556.

6. โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี. สุรินทร์: เวชระเบียนแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์; 2557.

7. โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี. สุรินทร์ : เวชระเบียนแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์; 2558.

8. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บุญชัย เคื้อไพโรจน์กิจ, ศักนัน มะโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, กระเษียร ปัญญาคำเลิศ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2551.

9. วิทยา ถิฐาพันธ์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, กติกา นวพันธุ์, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติปริกำเนิดในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี : สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศ; 2553.

10. เยื้อน ตันนิรันดร, วรพงศ์ ภู่วรพงศ์, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2551.

11. Rosenstock IM. Historical original at the health belief model. Health Educ Monogr 1998;2(4):328-35.

12. อุทัยวรรณ เหมเวช. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการรับรู้ประโยชน์ของการรักษากับความร่วมมือในการรักษาของหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ปทุมธานี : โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

13. ยุคลธร แจ่มฤทธิ์, กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับโรคและการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์. เพชรบุรี : วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า เพชรบุรี; 2551.

14. Lee S, Ayers S, Holden D. Risk perception of women during high risk pregnancy: A systematic review. Health Risk Soc 2012;14(6): 511-31.

15. สุทธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล, สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2555;15(2):8-13.

16. กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;26(3):196-207.

17. อุมาภรณ์ น้อยศิริ, สุปราณี อัทธเสรี, ยุพิน จันทรัคคะ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร. แรงจูงใจด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาล 2544;50(1):27-36.

18. Becker MH. The health belief model and sick role behavior. In: Becker MH., editor. the health belief model and personal health behavior. 1st ed. New Jersey: Charles B. Slack; 1974.

19. ศิริหงส์ ซิ้มเจริญ, วันทนา มณีศรีวงศ์กู, แสงทอง ธีระทองคำ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การรับรู้ต่อการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2555;20(3):35-46.

20. ตรีพร ชุมศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเองและอิทธิพลระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.