ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติด

Main Article Content

จันทิรา หงส์รพิพัฒน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคข้อไหล่ติดสามารถพบได้ร้อยละ 2-5 ของประชากร เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สุดพิสัย พบว่าผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20-50 ไม่สามารถหายได้เอง การรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรคสามารถช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติดที่ใช้ระยะเวลามากกว่า 6 เดือน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสุรินทร์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการข้อไหล่ติดและเข้ารับการรักษาฟื้นฟู แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุรินทร์ ในช่วงระยะเวลาวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2561 และทำการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติดที่ใช้ระยะเวลามากกว่า6เดือน โดยใช้ Fisher’sexacttest, univariable logistic regression และ multivariable logistic regression ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยที่เข้าการศึกษา 119 คน พบว่ามีกลุ่มที่ใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูโรคข้อไหล่ติดมากกว่า6 เดือน มีจำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 เมื่อนำมาวิเคราะห์แบบunivariable logistic regressionพบว่าปัจจัยผลต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติดที่ใช้ระยะเวลามากกว่า6เดือน ได้แก่ โรคเบาหวาน(OR 2.80, 95%CI 1.19 – 6.57, p-value=0.017) มีประวัติอุบัติเหตุที่บริเวณข้อไหล่นำมาก่อน(OR 2.76, 95%CI 1.22 - 6.24, p-value=0.015) คะแนนความปวดระดับปานกลางก่อนการฟื้นฟู(OR 0.35, 95%CI 0.17 - 0.75, p-value=0.035)คะแนนความปวดระดับรุนแรงก่อนการฟื้นฟู (OR 3.52, 95%CI 1.64 – 7.57, p-value=0.001)มุมพิสัยข้อไหล่ในท่ายกแขนไปข้างหน้าก่อนการฟื้นฟู (shoulder forward flexion)น้อยกว่า120องศา(OR 3.71, 95%CI 1.71 – 8.03, p-value=0.001)และมุมพิสัยข้อไหล่ในท่ากางแขนไปด้านข้างก่อนการฟื้นฟู (shoulder abduction)น้อยกว่า120องศา(OR 5.59, 95%CI 2.36 – 13.26, p-value=<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อนำปัจจัยต่างๆมาวิเคราะห์แบบ Multivariable logistic regression พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน (aOR 3.44, 95%CI 1.25–9.48, p-value=0.017) ผู้ป่วยที่มีคะแนนความปวดระดับรุนแรงก่อนการฟื้นฟู (aOR 3.26, 95%CI 1.35-7.79, p-value=0.008) และผู้ป่วยที่มีมุมพิสัยข้อไหล่ในท่ากางแขนไปด้านข้างก่อนการฟื้นฟูน้อยกว่า 120 องศา (aOR 3.51, 95%CI 1.03–11.98, p-value=0.045) เป็นปัจจัยที่มีผลทำให้การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติดใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูมากกว่า 6 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูโรคข้อไหล่ติดที่ใช้ระยะเวลามากกว่า 6 เดือน มีทั้งหมด 3 ปัจจัยคือ โรคเบาหวาน คะแนนความปวดในระดับรุนแรง และมุมพิสัยข้อไหล่ในท่ากางแขนที่น้อยกว่า 120 องศา ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์ผลการฟื้นฟูต่อไป
คำสำคัญ: โรคข้อไหล่ติด ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาในการฟื้นฟู

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ชยาภรณ์ โชติญาณวงษ์. ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder). กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล; มปป. [สืบค้นเมื่อ 15 กพ.62]. เข้าได้ถึงจาก URL: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1283_1.pdf.

2. Ewald A. Adhesive capsulitis: a review. Am Fam Physician 2011;83(4):417-22.

3. Binder A, Hazleman BL, Parr G, Roberts S. A controlled study of oral prednisolone in frozen shoulder. Br J Rheumatol 1986;25(3):288-92.

4. Manske RC, Prohaska D. Diagnosis and management of adhesive capsulitis. Curr Rev Musculoskelet Med 2008;1(3-4):180-9.

5. Milgrom C, Novack V, Weil Y, Jaber S, Radeva-Petrova DR, Finestone A. Risk factors for idiopathic frozen shoulder. Isr Med Assoc J 2008;10(5):361-4.

6. Hand C, Clipsham K, Rees JL, Carr AJ. Long-term outcome of frozen shoulder. J Shoulder Elbow Surg 2008;17(2):231-6.

7. Wang K, Ho V, Hunter-Smith DJ, Beh PS, Smith KM, Weber AB. Risk factors in idiopathic adhesive capsulitis: a case control study. J Shoulder Elbow Surg 2013;22(7):e24-9.

8. Vastamäki H, Kettunen J, Vastamäki M. The natural history of idiopathic frozen shoulder: a 2- to 27-year followup study. Clin Orthop Relat Res. 2012;470(4):1133-43.

9. Reeves B. The natural history of the frozen shoulder syndrome. Scand J Rheumatol 1975;4(4):193-6.

10. Shaffer B, Tibone JE, Kerlan RK. Frozen shoulder. A long-term follow-up. J Bone Joint Surg Am 1992;74(5):738-46.

11. Ogilvie-Harris DJ, Biggs DJ, Fitsialos DP, MacKay M. The resistant frozen shoulder. Manipulation versus arthroscopic release. Clin Orthop Relat Res 1995;(319):238-48.

12. Vastamäki H, Varjonen L, Vastamäki M. Optimal time for manipulation of frozen shoulder may be between 6 and 9 months. Scand J Surg 2015;104(4):260-6.

13. ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์. อาการปวดและความผิดปกติของข้อไหล่ ที่พบบ่อยในเวชศาสตร์ฟื้นฟู. Chula Med J 2017;16:206-21.

14. Griggs SM, Ahn A, Green A. Idiopathic adhesive capsulitis. A prospective functional outcome study of nonoperative treatment. J Bone Joint Surg Am 2000;82-A(10):1398-407.

15. Ando A, Sugaya H, Hagiwara Y, Takahashi N, Watanabe T, Kanazawa K, et al. Identification of prognostic factors for the nonoperative treatment of stiff shoulder. Int Orthop 2013;37(5):859-64.