ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่รับบริการคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พิลารัฐ ภูระธีรานรัชต์
อภิญญา วงศ์พิริยโยธา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความสำคัญต่อการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ ศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 75 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 1) ความเชื่อด้านสุขภาพและ 2) พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.869 และ0.891 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยของความเชื่อด้านสุขภาพ ( = 3.54, SD = 0.512) และพฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.95, SD = 0.452) ความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (r = 0.350, p < 0.05)
สรุป: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นทีมสุขภาพจึงควรพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
คำสำคัญ: โรคความดันโลหิตสูง ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 25 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้ที่ URL:https://www.thaincd.com/

Becker MH. The Health Belief Model and Sick Role Behavior. New Jersey : Charles B. Slack; 1974.

Stretcher, V. J.,& Rosenstock, I. M. The Health belief model. In K. Glanz, F. M. Lewis, & B. K. Rimer, (eds.), Health behavior and health education : Theory, research, and practice (pp.31-43). San Francisco : Jossey-Bass; 1997.

Norman GR, Streiner DL. Health measurement Scales: A practical guide to their development and use. 2nded. Oxford: Oxford University Press; 2008.

วาสนา ศรีหามาตร์, สุพัตรา บัวที, สุรชาติ สิทธิปกรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2558;21(2):27-40.

อุมาพร ปุญญโสพรรณ, ผจงศิลป์ เพิงมาก, จุฑามาศ ทองตำลึง. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของสตรีวัยทอง ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2554;3(1):47-8.

ชัญญานุช ไพรวงษ์, วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์, ภูนรินทร์ สีกุด. การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2560;11(1):107-16.

มยุรีย์ วิสุทธาจารย์, นิรมล วงษ์ดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลท่าทองหลาง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2553;21(2):1-9.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2555 ปรับปรุง พ.ศ. 2558. [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 25 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้ที่ URL: https://www.thaihypertension.org/files/GL%20HT%202015.pdf

สุมาลี วังธนากร, ชุติมา ผาติดำรงกุล, ปราณี คำจันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26(6);539-47.

กัลยารัตน์ แก้ววันดี, วราภรณ์ ศิริสว่าง, จิติมา กตัญญู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

Fishbein M, Ajzen I. Belief Attitude Intention and Behavior : An Introduction to theory and Researh. Mass: Addison-Wesley; 1975.

ปฐญาภรณ์ ลาลุน. นภาพร มัธยมางกูร, อนันต์ มาลารัตน์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก อายุรกรรมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554;18(3):160-9.

จิรวรรณ ชัยวิศิษฎ์. แบบแผนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี. [ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

อรชา หนามจันทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลนราธิวาสนครินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์มหาบัณฑิต]. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2547.

จิรวรรณ เจนจบ, สุพัฒนา คำสอน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกศกาสร อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ 2559; 721-31.