การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX4 ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

นิศากร ปากเมย
สุนทรีย์ ศิริพรอดุลศิลป์
พจนา ไกรศร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคมะเร็งลำไส้เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญระดับโลกการรักษานอกจากการผ่าตัดแล้วก็มีการใช้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมักเกิดอาการข้างเคียง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง จากการศึกษาปรากฏการณ์รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX4 ในหอผู้ป่วยหู คอ จมูก เคมีบำบัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในปีพ.ศ.2561 พบว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX4 ยังไม่ครอบคลุมกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย และมีแนวปฏิบัติที่หลากหลายส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากได้รับยาเคมีบำบัดและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นถ้าหากไม่มีการเฝ้าระวังที่ดี
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการพยาบาล ได้แก่อัตราการเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิไว อัตราผู้ป่วยปลอดภัยจากการเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิไว และอัตราการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบ 3)เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้หลังการใช้รูปแบบการพยาบาล และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการพยาบาล
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) มี 4 ขั้นตอนคือ1) เตรียมการและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การสร้างและพัฒนารูปแบบการพยาบาล3) การนำรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนามาทดลองใช้ 4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX4 ในหอผู้ป่วยหู คอ จมูก และเคมีบำบัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 35 คน 2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหู คอ จมูก และเคมีบำบัด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่าง 1-30 มิถุนายนพ.ศ.2562 จำนวน 18 คน ใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi – square
ผลการศึกษา: การพัฒนารูปแบบการพยาบาลประกอบด้วย 1)แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิไว 2) แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ 3) ระบบนิเทศติดตาม 4) การโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมวันที่ 3 เมื่อจำหน่ายกลับบ้าน ผลการศึกษาพบว่า1) อัตราการเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิไวก่อนการพัฒนาร้อยละ 5.3 หลังพัฒนาร้อยละ 2.9 2) อัตราการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบก่อนการพัฒนา ร้อยละ 7 หลังพัฒนาร้อยละ 0 และ3) อัตราผู้ป่วยปลอดภัยจากการเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิไวก่อนการพัฒนาร้อยละ 98.3 หลังพัฒนาร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า 1) อัตราการเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิไวหลังการพัฒนาไม่แตกต่างจากก่อนการพัฒนา (gif.latex?\chi2= 0.5, df=1, p-value = 0.7) 2) อัตราการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบหลังการพัฒนาลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi2= 7.3 , df=1, p-value = 0.0) 3) คุณภาพชีวิตโดยรวมมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีคะแนนเฉลี่ย 101.1 คะแนน (SD=8.3) 5) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลพบว่ามีความพึงพอใจระดับมากที่สุดร้อยละ 44.4 รองลงมาคือระดับมากร้อยละ 32.9
สรุป: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX4 ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX4 ปลอดภัยจากการเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิไว เยื่อบุช่องปากอักเสบและคุณภาพชีวิตที่ดี
คำสำคัญ: การพัฒนา รูปแบบการพยาบาล มะเร็งลำไส้ใหญ่

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. ภารกิจพิชิตมะเร็งด้วยความรู้และความเข้าใจในโลกแห่งเทคโนโลยีที่ทันสมัย. [อินเตอร์เน็ท]. 2561. [สืบค้น 20 พ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://adaybulletin.com/talk-lesson-national-cancer-institute/21288

2. มณีพรรณ ภิญโญวรพจน์, สุกัญญา บุญญะริกพันธ์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับยาเคมีบาบัด. [อินเตอร์เน็ท]. 2561. [สืบค้น 18 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.cbh.moph.go.th/app/intranet/files/km/ 1507177475_7.%20%E0%B8%A1%E0%B8% 93% E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8% 93,%20%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0% B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2.pdf

3. ประดับเพชร กล้าทางถูก, บุษบา สมใจวงษ์. อุบัติการณ์ของการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบําบัดสูตรที่มี 5-FU หยดเข้าหลอดเลือดดําเป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ชั่วโมง. [อินเตอร์เน็ท]. 2553. [ สืบค้น 4 พ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/56/grc14/files/mmo8.pdf

4. วันทกานต์ ราชวงศ์, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, สุวิมล กิมปี, นันทกานต์ เอี่ยมวนานนทชัย. ผลของโปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด. วารสารสภาการพยาบาล 2556;28(1):34-48.

5. ปุณฑริกา วันชูเสริม, เบญจมาศ คุชนี, วิระพล ภิมาลย์, ฝนทิพย์ สิงห์ทอง, ไพรินทร์ ปาแส, ศุถกฤต สวัสดิรักษ์. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการอมน้ำแข็งต่อการป้องกันเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรที่มี 5-fluorouracil ในโรงพยาบาล. วารสารโรคมะเร็ง 2559;36(4):127-38.

6. หนูไกร เพื่อนพิมาย, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม. การดูแลสุขภาพช่องปากและการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;5(1):89-102.

7. สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. การจัดการเมื่อเกิดการรั่วไหลของยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด. วารสารโรคมะเร็ง 2552;29(1):35-43.

8. สุริยน อุ่ยตระกูล, สุเพ็ญพร อักษรวงศ์. การแพ้ยา Oxaliplatin :กรณีศึกษาจากโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารโรคมะเร็ง 2555;32(3):104-10.

9. Lee KH, Park YJ, Kim ES, Hwang HJ, Shim BY, Kim HK. Hypersensitivity reactions to oxaliplatin. Cancer Res Treat 2006;38(4):240-1.

10. ประไพพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(3):224-31.

11. พิมลพันธ์ เจริญศรี, วาสนา สารการ, บาลิยา ไชยรา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(3):48-57.

12. สมหมาย คชนาม. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลบุรีรัมย์; 2561.

13. ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, ปณิตา คุณสาระ, พรรณวดี พุธวัฒนะ. ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับเจลแป๊ะตำปึงต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;25(1):110-23.

14. ปรารถนา กันทอน, มณีพรรณ จำปาดง, ธัชพิสิฐ บุคคละ, สุพัตรา ป้านบุญ, ฤทัยวรรณ ความเพียร, สิริพร ศิริกันต์, และคณะ. การจัดการความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิด Hypersensitivity. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นวันที่ 18 ม.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก:URL: https://med.swu.ac.th/msmc/w15-2/images/KM/ 15-2.pdf.

15. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นวันที่ 18 ม.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก:URL: https://www.dmh.go.th/test/whoqol/

16. พารุณี วงษ์ศรี, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ 2561;10(1):209-19.