ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท พัฒนจักร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา

 รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) ในผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน130 ราย ที่เข้าเกณฑ์คุณสมบัติในการศึกษา ระหว่างวันที่ 4 มกราคม – 31 พฤษภาคม พ.ศ.2562  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และตรวจนับปริมาณยาที่เหลือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไควสแคว์ (chi-square test)

 ผลการศึกษา : ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง อายุเฉลี่ย 69.66 + 6.78 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 63.8 มีความร่วมมือในการใช้ยาในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ร้อยละ 39.2 , 23.8 ,36.9 ตามลำดับ ในกลุ่มที่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำ ถึงระดับปานกลาง มีสาเหตุจาก ลืมรับประทานยา กลัวไตวายหรืออันตรายจากยา และลืมนำยาติดตัวเมื่อออกจากบ้าน ร้อยละ 55.4 , 43.1, และ 33.8 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา พบว่าปัจจัยตัวผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ  สถานภาพสมรส รายได้ มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลรักษา พบว่าปัจจัยผู้ดูแลที่บ้าน มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การมีผู้ดูแลที่บ้านมีความร่วมมือในระดับสูง ร้อยละ 58.8 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีผู้ดูแลที่บ้านที่มีเพียงร้อยละ 32.3 ปัจจัยเกี่ยวกับตัวยาและแบบแผนการรักษา และปัจจัยการเข้าถึงบริการ ไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา

 สรุปผล : ผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังมีความร่วมมือระดับสูงมีมากกว่าความร่วมมือระดับต่ำเล็กน้อย การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาบางปัจจัยเป็นปัจจัยที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ เช่นสนับสนุนเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยในการรับประทานยา สร้างนวัตกรรมช่วยกระตุ้นเตือนความจำการกินยา และให้ความรู้ผู้ป่วย

คำสำคัญ : ความร่วมมือในการใช้ยา  ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง

 

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.

World Health Organization. Global status report on noncommunicable diseases 2010. Geneva: World Health Organization; 2011.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Available from http://www.nesdb.go.th. Accessed October 12, 2018

Pignone M, DeWalt DA, Sheridan S, Berkman N, Lohr KN. Interventions to improve health outcomes for patients with low literacy. J Gen Intern Med. 2005; 20(2):185–192.

Kalichman SC, Ramachandran B, Catz S. Adherence to combination antiretroviral therapies in HIV patients of low health literacy. J Gen Intern Med. 1999; 14(5):267–73.

Davis TC, Wolf MS, Bass PF, III, Middlebrooks M, Kennen E, Baker DW et al. Low literacy impairs comprehension of prescription drug warning labels . J Gen Intern Med 2006; 21: 847–51.

Baker DW, Gazmararian JA, Williams MV, Scott T, Parker RM, Green D et al. Functional health literacy and the risk of hospital admission among Medicare managed care enrollees. Am J Public Health. 2002;92(8):1278–83. DOI:10.2105/ajph.92.8.1278. PubMed PMID: 12144984; PubMed Central PMCID: PMC1447230.

DiMatteo MR. Variations in patients’ adherence to medical recommendations: a quantitative review of 50 years of research. Med Care. 2004;42(3):200–9. DOI: 10.1097/01.mlr.0000114908.90348.f9. PubMed PMID: 15076819.

IMS Institute for Healthcare Informatics Avoidable costs in US health care. 2013. Available from :http://www.imshealth.com/deployedfiles/imshealth/Global/Content/Corporate/IMS%20Institute/RUOM-2013/IHII_Responsible_Use_Medicines_2013.pdf. Accessed October 10, 2018.

DiMatteo MR. Evidence-based strategies to foster adherence and improve patient outcomes. JAAPA. 2004;17(11):18–21. PubMed PMID: 15575518.

Morisky DE, Green LW, Levine DM. Concurrent and predictive validity of a self-report measure of medication adherence. Med Care. 1986; 24(1):-67-74.

นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์. ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา.วารสาร ไทยไภษัชยนิพนธ์. 2555;7:1-18.

Kathleen Fairman,Brenda Mothernak Evaluating Medication Adherence: Which Measure is Right for Your Program?. Journal of Managed Care Pharmacy.2000;6(6): 499-504.

คเชนทร์ ชนะชัย.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีษะเกษ .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2558;2: 287-91

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก, ปวีณา วองตระกูล, วรัญญา เนียมขำ. การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศรีษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559; 20 (39):97-108.

Hyekyung Jin. Yeonhee Kim, and Sandy Jeong Rhie. Factor affecting medication adherence in elderly people. Published online 2016 Oct 19.doi: 10.2147/ppa.s118121

Osterberg L, Blaschke T. Adherence to medication. N Engl J Med. 2005;353(5):487–497.

World Health Organization. Adherence to long-term therapies -evidence for action 2003. Available at:http://www.who.int/chronic_conditions/en/adherence_report.pdf. 2003.

Yoshihisa Hirakawa, Esayas Haregot Hilawe, Chifa Chiang, Nobuo Kawazoe, and Atsuko Aoyama. Comprehensive medication management services influence medication adherence among Japanese older people. J Rural Med. 2015; 10(2): 79–83

Corsonello, A., Pedone, C., Lattanzio, F., Lucchetti, M., Garasto, S., Carbone, C., et al. Regimen complexity and medication nonadherence in elderly patients. Therapeutics and Clinical Risk Management.2009; 5(1): 209-216.

Turner, B. J., Hollenbeak, C., Weiner, M. G., Ten Have, T., & Roberts, C. Barriers to adherence and hypertension control in a racially diverse representative sample of elderly primary care patients. Pharmacoepidemiology and Drug Safety.2009;8(8): 672-681.

Ben-Natan, M., & Noselozich, I. (2011). Factors affecting older persons' adherence to prescription drugs in Israel. Nursing & Health Sciences, 13(2), 164-169. doi: 10.1111/j.1442-2018.2011.00594.x

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ , นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ. พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2558; 9(1):32-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-04