กายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เบญจรงค์ ศรีสุระ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะต้องทุกข์ทรมาน กับความผิดปกติหลายอย่างที่จำกัด โดยเฉพาะการทำกิจวัตรประจำวันหลังจากจำหน่ายจากโรงพยาบาล การกายภาพบำบัดมีความจำเป็นมากในการทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถทำกิจวัตรประจำวันเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษากรณีศึกษาการรักษาทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลัง(cerebral in farction due to cardioembolism of cercbral artery) จำหน่ายจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนในเขตความรับผิดชอบศูนย์แพทย์ประชาสโมสร 2. เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการศึกษา : กรณีศึกษาผู้ป่วย 1 ราย  เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคหัวใจร่วมด้วยที่มารักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ข้อมูลจากเวชระเบียน แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด และแบบประเมินการเคลื่อนไหว การรักษาตามแนวคิดการรักษาทางกายภาพบำบัด ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา วิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ                             

ผลการศึกษา : 1. กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคหัวใจรายนี้หลังจากได้รับกายกายภาพบำบัด ผู้ป่วยสามารถเดินได้โดยใช้ไม้เท้าด้วยตนเอง และทำกิจวัตรด้วยตนเอง 2. ผลลัพธ์จากแบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ได้คะแนนจาก 35 คะแนน เป็น 95 คะแนน ร้อยละการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 0.67 เป็นร้อยละ 2.04 สัญญาณชีพค่าเฉลี่ย ความดันโลหิต 125.46/77.38 มม.ปรอทและ ชีพจร 77.54 ครั้ง/นาที

สรุป : หลังจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคหัวใจร่วมด้วย ได้รับการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดโดยการมีส่วนร่วมระหว่างนักกายภาพบำบัด ทีมสหสาขาวิชาชีพ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

 

References

ณัฐเศรษฐ มนิมนากร.เวชศาสตร์ฟื้นฟู : ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง.ขอนแก่น ,คลังนานาวิทยา ; 2551.

ชัยภัทร ชุณหรัศม์.ประสาทวิทยา:สาขาประสาทวิทยาภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ,คลาสิคสแกนจำกัด.2555;29-40.

พรภัทร ธรรมสโรช.การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันระยะเฉียบพลันใน: พรภัทร ธรรมสโรช (บรรณาธิการ) โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน. 2555; 46-79.

วนัชพร อุสส่าห์กิจ. Pre-hospitaldelay in acute stroke and TIA.North-Estern Thai Journal of Neuroscience 2556; 8(4) :43-51.

Strong,K,Mathers,C,& Bonita ,R. Preventimg stroke:Saving lives around the world.Lancet Neurol ; 2007; 6:182-187.

ปิยนุช ภิญโย. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

เวชระเบียน กลุ่มงานสารสนเทศ โรงพยาบาลขอนแก่น; 2562.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrailfibrillation ในปร ะเทศไทย. กรุงเทพ ,ศรีเมืองการพิมพ์ ; 2555.
9.ธนพล บรรดาศักดิ์,กนกพร เทียนคำศรีและสุนทรี สิทธิสงคราม. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; 34(4) :341-349.

เอมอร แสงศิริ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ.สมอง.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2558;26(1):104-118.

ภัทรสิริ พจมานพงศ์และคณะ.พฤติกรรมป้องกันหัวใจกำเริบซ้ำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการหาดใหญ่ ครั้งที่ 4;2556.

นงคราญ เติมวุฒิ. การปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. วารสารกายภาพบำบัด,ในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ.วารสารกายภาพบำบัด, 2561; 40 (1) : 1-15.

Daley K,Mayo N,Wood-Dauphinee S.Reliability of scores on the Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM) measure. Phys Ther 1999 ;79 (1): 8-19.

ดวงกมล สุวรรณ์.ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ. [วิทยานิพนธ์] สงขลา; มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์;2560.

รัตน์เกล้า พบสมัย.การพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสกลนครสาขา 1 จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา;2559.

นงนุช เพ็ชรร่วงและคณะ. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน.วารสารพยาบาลทหารบก. 2556;14(1):25-34.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์.นักกายภาพบำบัดกับโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,2554; 6(3):45-49.

นิตญา ฤทธิ์เพชร. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุjมอาการ การจัดการตนเอง ค่านิยมด้านสุขภาพ ความเข้มแข็งในการมองโลก และคุณภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ.ระบบ.[วิทยานิพนธ์]กรุงเทพฯ;จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

ภรปภา จันทร์ศรีทอง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันในโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์] กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

เสาวลี นิจอภัย. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) ในชุมชน:กรณีศึกษา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2560;7(3) :321-328.

พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะและคณะ. หัวใจห้องบนสั่นพลิ้วในผู้ป่วยอาการหนัก.วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(2 ) :99-103.

อนุชา ไทยวงษ์. ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ:บทบาทพยาบาลในการประเมินและการดูแล.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2561; 15(2) : 206 - 213.

อริสรา สุขวัจนี.ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถทำกิจกรรมประจำวันในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีระยะเวลาดำเนินของโรคน้อยกว่า 6 เดือน ในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. วารสารพยาบาล. 2558; 4064(3) : 62-71.

วิยะดา ศักดิ์ศรีและสุรัตน์ ธนานุภาพไพศาล. คู่มือกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก.กรุงเทพมหานคร, สายธุรกิจ ; 2552.

อาคม รัฐวงษา.การพัฒนาแนวทางจัดการรายกรณีเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ต่อเนื่องที่บ้านโรงพยาบาลโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา.2561;24(1) : 22-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-06