6 กระบวนทัศน์ในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

Authors

  • ธนิศร์ เสถียรนาม นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพดล ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, การศึกษา, กระบวนทัศน์, Vernacular Architecture, Study, Paradigm

Abstract

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาสถาปัตยกรรม พื้นถิ่นผ่านการวิพากษ์และอภิปรายสภาพปัญหาสำคัญในบริบทสากลและในประเทศไทย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความสับสนและคลุมเครือในแก่นแท้ของศาสตร์วิชา การลดทอนคุณค่าในฐานะสิ่งปลูกสร้าง หรืออาคารที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม วิกฤตการณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และการขาดความชัดเจนในแนวทางการศึกษา พร้อมทั้งให้ข้อเสนอ 6 กระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ประกอบด้วย ความเข้าใจหลักการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ความเข้าใจในพลวัตการเปลี่ยนแปลง การไขความกระจ่างในความเป็นพื้นถิ่น การรู้เท่าทันต่อกระแสการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ การรับมือกับวิกฤตการณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่กำลังสาบสูญ และการบูรณาการศาสตร์วิชาและขยายขอบเขตของการศึกษา ซึ่งสามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

Six Paradigms in the Vernacular Architectural Study

Tanit Satheinnam, Ph.D. Candidate

Nopadon Thungsakul, Ph.D., Assistant Professor

Faculty of Architecture

Khon Kaen University

        This article aims to provide the basic knowledge and understanding towards the vernacular architectural study through criticizing and discussing four crucial problems in the context of international and Thai. These are the confusion and ambiguity of the science; the diminished value as the building rather than the architecture; the destructive crisis of the vernacular architecture; and the indistinct study approach. The final of the article is to propose six new paradigms in the vernacular architectural study: the principle comprehension of the relation between human and environment; the dynamic and change acknowledgement; the vernacular enlightenment; the globalization literacy; the crisis countermeasure; and the inter-discipline adoption as well as redefining scope of the study. Such paradigms can be used to guide the further vernacular architectural study in the right and proper direction.

Downloads

How to Cite

เสถียรนาม ธ., & ตั้งสกุล น. (2016). 6 กระบวนทัศน์ในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 28, 265. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44907

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment