ภาพกระดาษพับกับแนวความคิดในการสร้างพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม

Authors

  • ธนรัตน์ ชื่นจิตต์ นักศึกษา สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สายแนวความคิดในการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

        Pop-up Book คือหนังสือสามมิติ ที่ประกอบไปด้วยแผ่นกระดาษที่นำมาตัด พับและจัดองค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน ซึ่งแผ่นกระดาษสองมิตินั้นเมื่อมีการพับและดึงอย่างเป็นระบบ สามารถแปรเปลี่ยนเกิดเป็นรูปทรงสามมิติระหว่างหน้ากระดาษสองมิติได้ ซึ่งประวัติการเกิดของ Pop-up Book ที่มีบันทึกครั้งแรกนั้นสามารถย้อนไปได้ถึงยุคกลาง ระหว่างปี ค.ศ. 1235-1316 โดยปราชญ์กวี และนักประดิษฐ์ชาวคาตาลัน (Catalan) จากมายอร์กา (Marjorca) ชื่อ รามอน ลัลล์ (Ramon Llull) โดยที่หนังสือนั้นประกอบไปด้วยกลไกการพับและการหมุนกระดาษ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนเชิงปรัชญาที่มุง่ ตั้งคำถามถึงธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งรอบตัว เทคนิคการทำระนาบสองมิติให้เป็นสามมิติในช่วงแรกนั้น เป็นการซ้อนทับโดยอาศัยจุดหมุนเป็นแกนที่เรียกว่า Volvelle ซึ่งได้ถูกใช้และมีการพัฒนาการเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน เกิดเป็น Pop-Up เทคนิคหลากหลายเพื่อสื่อสารและเล่าเรื่องราวต่างๆ กันไป งานประดิษฐ์และเทคนิคกระดาษพับนั้น แม้ปัจจุบันจะถูกใช้เป็นการเล่าเรื่องสำหรับเด็ก แต่มีพื้นฐานทางปรัชญาที่เกี่ยวกับการรับรู้และความสัมพันธ์ระหว่างความเป็น 2 มิติและ 3 มิติ ที่เกี่ยวกับวัตถุ ร่างกาย และสภาพแวดล้อม โดยการเกิดของภาพ Pop-up นั้นไม่ได้เป็นการนำเสนอลักษณะของที่ว่างและรูปทรงตามที่เป็นจริง แต่เป็นการสร้างตัวแทนโดยการลดทอนมิติและการย่นย่อพื้นที่ เพื่อให้ภาพ Pop-up สามารถเล่าเรื่องเชิง 3 มิติที่สมบูรณ์ที่สุดในพื้นที่ที่น้อยที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งเปน็ การแปลงระนาบสองมิติเพื่อใหเ้ กิดการรับรูส้ ามมิติ ดว้ ยกรอบของแนวความคิดดังกล่าว การสร้างภาพ Pop-up จึงมีนัยที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบทางสถาปัตยกรรมหลายประการ ได้แก่ การเกิดของพื้นที่จากระนาบ การซ้อนทับขององค์ประกอบ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และองค์ประกอบ การรับรู้มิติ การเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหว และกลไกในงานสถาปัตยกรรม 

        บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สายแนวความคิดในการออกแบบ ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาประเด็นความสัมพันธ์ทางแนวความคิดระหว่างการเกิดภาพ Pop-up และ การออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเน้นการศึกษาประวัติ แนวความคิดและวิธีการของการเกิดภาพ Pop-up ที่มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดทางสถาปัตยกรรม ผ่านกรณีศึกษาอาคารที่ถูกสร้างขึ้นจริงในช่วงปลายของศตวรรษที่ 20

 

 

Pop-up Image and the Ideas in Architectural Design

ธนรัตน์ ชื่นจิตต์
นักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สายแนวความคิดในการออกแบบ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

        Pop-up Book refers to the three-dimensional book that consists of folding pages composed to create three dimensional objects within the pages. The history of Pop-up book can be traced back to 1235-1316 that the Catalan poet and philosopher from Majorca named Ramon Llull created movable books. The first movable book was created of folding and rotating pages to explain the science of astronomy. This type of movable pages was called Volvelle, which has been
transformed since the fourteenth century, resulting in various types of Pop-Up techniques to tell different types of stories. 


        Pop-up and folded paper technique, even though known today as techniques for children books, contains ideas that are closely related to space and dimension perception. The creation of Pop-up image is also related to ideas in architecture
such as the creation of space from planes, overlapping and superimposition of architectural elements, the transformation of space and elements, spatial dimension perception as well as movement and mechanical elements. This paper is a part of a thesis in architecture in the Master of Architecture Program, in the field of Concepts in Architecture at Silparkorn University. It is a paper that aims to study the relationship between ideas in the creation of pop-up images and ideas in the creation of architectural space and form through a study of Pop-up image history as well an architectural case study during the 20th century.

Downloads

How to Cite

ชื่นจิตต์ ธ. (2016). ภาพกระดาษพับกับแนวความคิดในการสร้างพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 24, 57. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45029

Issue

Section

ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบสถาปัตยกรรม | Architectural Theory and Design