อุทกสีมา: วิวัฒนาการแพขนานสู่อุโบสถกลางนํ้าในวัฒนธรรมล้านนา

Authors

  • ฐาปกรณ์ เครือระยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Keywords:

อุทกุกเขปสีมา, อุทกสีมา, อุโบสถกลางนํ้า, Udakukkhepa sima, Ordination halls built in the middle of the pond

Abstract

         การศึกษาเรื่อง “อุโบสถกลางนํ้าในวัฒนธรรมล้านนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมรูปแบบและลักษณะของอุโบสถกลางนํ้าเพื่อจำแนกประเภทและอายุสมัย รวมไปถึงรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นสภาพการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านคติความเชื่อ เทคนิคการตกแต่ง รวมถึงลักษณะของอุโบสถกลางนํ้าที่เปลี่ยนไป ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จะสามารถนำไปใช้ในการสร้างและอนุรักษ์ รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจของหน้าที่การใช้งานที่ถูกต้องพร้อมผลักดันให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะการวิจัยเป็นเชิงคุณภาพสำรวจลงพื้นที่ซึ่งมีวิธีการศึกษาในเชิงปฏิบัติการร่วมกับคนในชุมชน ทั้งการสอบถามรายละเอียดสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม บันทึกภาพรายละเอียดต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ช่วงอายุกลุ่มช่างและเทคนิคการสร้างรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางบริบทด้านต่างๆ

         ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า รูปแบบอุโบสถกลางนํ้าในวัฒนธรรมล้านนา (8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนรวมไปถึงส่วนหนึ่งของเมืองเชียงตุง รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และเมืองเงิน แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งสิ้นจำนวน 33 ตัวแบบ โดยแบ่งออกเป็น “ชาตะสระ” หรือ “หนองโบสถ์” จำนวน 10 แห่ง และ “อุโบสถที่เป็นตัวอาคารกลางนํ้า” อีกจำนวน 23 หลัง สำหรับประเทศไทย พบในเขตจังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา จำนวน 17 หลัง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา รัฐฉาน เมืองเชียงตุง จำนวน 4 หลัง และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แขวงไชยบุรี เมืองเงิน จำนวน 2 หลัง ทำให้สามารถจำแนกประเภทและอายุสมัยในส่วนของอุโบสถกลางนํ้าที่เป็นตัวอาคารอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-26 รูปแบบและลักษณะของอุโบสถกลางน้ำ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวได้นำมาวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านคติความเชื่อ เทคนิคการตกแต่ง การจำแนกประเภทของอุโบสถ รวมถึงการเปลี่ยนไปของค่านิยมการใช้อุโบสถกลางนํ้าในแต่ละยุคสมัย ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้ในการสร้างและอนุรักษ์ รวมถึงผลักดันให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในอนาคต

 

Udakukkhepa Sima: Evolution of a raft to an ordination halls in the pond of Lanna culture

Thapakon Kruaraya
Faculty of Liberal Arts, Meajo University

 

         The study had been conducted with the purpose of collecting information about styles and characteristics of ordination halls constructed in a pond. Thay were classified into types, period of construchion, special characteristics in ach an They were also analyzed meir changes in trem method of beliefs, decorating techniques, and features. Eventually, ths data analysis will be advantageous to form a guideline for a conservation plan. It also provides right understanding about roles or functions of ordination halls. From this phenomenon, it can be led to the promotion of ordination halls in the pond as local heritages. This research is based on qualitative research. inclyding surveying, interviewing locals, group discussim and taking photographs.

         The study found that there are thirty-three ordination halls pond in Lanna or eigth provinces in northern Thailand. They were also found in Kengtung, Shan state, Myanmar. and Muang Meuxng, Chai Buri, Laos. Among these thirty -three halls, ten are cata-pond and twenty-three are ordination halls. In Thailand, seventeen ordination halls were found in Lampang, Lamphun, Chiang Mai, Chiang Rai and Phayao. There also four examples in Kengtung and two in Muang Meuxng, Chai Buri, Laos After classifying their types and periods of construction, These case studies were built during the 18m-20m centuries.

Downloads

How to Cite

เครือระยา ฐ. (2018). อุทกสีมา: วิวัฒนาการแพขนานสู่อุโบสถกลางนํ้าในวัฒนธรรมล้านนา. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 32, A–29. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/96500

Issue

Section

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย | History of Architecture and Thai Architecture