@article{บูรณสมภพ_เอี่ยมอนันต์_ธาราศักดิ์_เอกปัญญากุล_ชูแสง_สุจฉายา_จ๋วงพานิช_ชุ่มเกษร_2016, title={รายงานการวิจัยย่อ การศึกษาสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี}, volume={11}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/46747}, abstractNote={<p style="text-align: justify;">        การศึกษาสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่การวางผัง และอาคารต่างๆ ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกเพื่อจะหาส่วนที่มีอิทธิพลกับสถาปัตยกรรมไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเท่านั้น แต่ได้ทำการศึกษาเป็นแนวกว้าง เริ่มตั้งแต่วิวัฒนาการของเมืองลพบุรีว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ทั้งลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศตั้งแต่สมัยก่อนและในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหราช รวมถึงการศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่สมัยก่อน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ทั้งได้ศึกษาประวัติการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย เพื่อที่จะทราบได้ว่า ส่วนไหนของอาคารในพระนารายณ์ราชนิเวศน์สร้างตามแบบอย่างของไทยหรือได้รับอิทธิพลจากประเทศอื่นในสมัยก่อน และส่วนไหนของอาคารที่ไม่ได้สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ได้ถูกทําการก่อสร้างหรือดัดแปลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนที่เหลือจึงนํามาพิจารณาว่ามีส่วนใดที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตก</p><p style="text-align: justify;">        การศึกษาแบ่งออกเป็นสองภาค ภาคแรกเป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตาง ๆ ซึ่งมีทั้งหนังสือ จดหมายเหตุ ภาพเขียน และภาพถ่ายในสมัยก่อน ที่มีผู้รวบรวมและบันทึกไว้ทั้งของชาวไทยและชาวฝรั่งเศส ภาคที่สองคือ การสำรวจอาคารที่ยังคงเหลืออยู่ด้วยวิธีการสังเกต การถ่ายภาพ และการรังวัด การสังเกตนี้ได้ดูถึงลักษณะ อาคาร วัสดุ โครงสร้าง การวางผังอาคาร หน้าที่ใช้สอยอาคารในสมัยอยุธยาที่จังหวัดอยุธยา ลพบุรี เพชรบุรี ทั้งได้ไปสํารวจสถาปัตยกรรม และชุมชนเมืองทหาร ในย่านที่อยู่อาศัยของเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วย</p><p style="text-align: justify;">        การรังวัด ได้ทําการส่องกล้องและใช้สายวัดตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งนํามาเขียนแแบบแสดงให้เห็น ขนาดส่วนต่างๆ ของอาคาร ด้วยระยะที่ถูกต้องตามมาตราส่วนของจริง จากนั้นได้ทําการวิเคราะห์เบื้องต้น โดยตั้งเป็นข้อสังเกตว่าลักษณะสถาปัตยกรรม การวางผัง และการก่อสร้างอาคารพระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีส่วนใดที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมตะวันตก พร้อมทั้งซี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการออกแบบที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย และเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในสมัยนั้น ซึ่งสรุปได้ดังนี้</p><p style="text-align: justify;">            1. มีการวางผังกลุ่มอาคารและการออกแบบอาคารที่สอดคล้องกับหน้าทีและประโยชน์ใช้สอย</p><p style="text-align: justify;">            2. มีการจัดสวนรอบอาคารอย่างเป็นระเบียบ โดยเน้นทางสัญจรที่เชื่อมโยงแต่ละจุด และเน้นความสําคัญ ให้แก่อาคารเพิ่มขึ้นจากการให้ร่มเงา ความสวยงาม และกลิ่นหอมของดอกไม้</p><p style="text-align: justify;">            3. มีการนำระบบประปาใช้ และการทำน้ำพุ</p><p style="text-align: justify;">            4. ลักษณะโครงสร้างอาคารช่วงกว้างและสูงบ่งบอกถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ก้าวหน้ากว่าในสมัยก่อน</p><p style="text-align: justify;">            5. อาคารสูงเกินหนึ่งชั้น</p><p style="text-align: justify;">            6. ช่องหน้าต่างกว้างและสูง มีบานปิดเปิด</p><p style="text-align: justify;">            7. ประตูหน้าต่าง “โค้งแหลม” (POINTED ARCH) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ “โกธิค” (GOTHIQUE) ของยุโรป ดูจากการเรียงอิฐซึ่งต่างจาก “โค้งกลีบบัว” ในสมัยก่อน</p>}, journal={NAJUA: Architecture, Design and Built Environment}, author={บูรณสมภพ ตรึงใจ and เอี่ยมอนันต์ ประสงค์ and ธาราศักดิ์ ปราโมทย์ and เอกปัญญากุล สมชาย and ชูแสง สาทิศ and สุจฉายา ชูวิทย์ and จ๋วงพานิช อมรา and ชุ่มเกษร บัญชา}, year={2016}, month={Jan.}, pages={87} }