ภูมิปัญญาและพัฒนาการของเรือนพื้นถิ่นลุ่มนํ้าเพชรบุรี : ศักยภาพในการคงอยู่โดยมีประชาชนเป็นฐาน

Authors

  • อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จตุพล อังศุเวช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มนทัต เหมพัฒน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จรูญพัฒธ์ บรรจงภาค คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง, ภูมิปัญญา, เรือนพื้นถิ่น, ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล, ห้องเรียน ธรรมชาติของป่าชายเลน, built environment, local wisdom, vernacular houses, sea natural resources, mangrove forest natural classroom

Abstract

        การศึกษาและวิจัย “ภูมิปัญญาและพัฒนาการของเรือนพื้นถิ่นลุ่มน้ำเพชรบุรี: ศักยภาพในการคงอยู่โดยมีประชาชนเป็นฐาน” เป็นโครงการวิจัยย่อยในกลุ่มวิจัย “การศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อ มสรรค์สร้างลุ่มน้ำเพชรบุรี” โดยใช้กรอบการวิจัยนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ระบบนิเวศชุมชนและสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงเรือนพื้นถิ่นในลุ่มน้ำเพชรบุรี ในพื้นที่อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมืองเพชรบุรี และอำเภอบ้านแหลม โดยเน้นเนื้อหาของลักษณะการตั้งถิ่นฐานทางกายภาพของชุมชนที่เลือกเป็นกรณีศึกษา 7 แห่ง ซึ่งสัมพันธ์กับลุ่มนํ้าเพชรบุรี ภูมิปัญญาในการดำรงชีพตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติของชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ ชาวนาเกลือ ชาวนากุ้ง และชาวประมง ศึกษาถึงความต่างของการดำรงชีพของกลุ่มที่นำทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศมาใช้โดยตรง โดยมีการทดแทนตามธรรมชาติและกลุ่มที่เสริมสร้างปลูกเลี้ยงและแปรรูปตามความสอดคล้องกับระบบนิเวศเพื่อประเมินถึงศักยภาพในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนและเรือนพื้นถิ่น เพื่อเน้นลักษณะเด่นของเพชรบุรีซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิต มีศิลปวัฒนธรรม และภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่โดดเด่น ผลการศึกษาได้พบว่าหมู่บ้านประมงที่บ้านบางขุนไทร ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม ซึ่งเป็นชุมชนประมงและเก็บหอยแครงที่เกิดและอนุบาลโดยธรรมชาติของป่าชายเลน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์และพัฒนาโดยมีฐานสนับสนุนและดำเนินการโดยประชากรในพื้นที่ซึ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและเก็บหอยแครง โดยมุ่งหวังให้เป็นแหล่งเรียนรู้และห้องเรียนธรรมชาติของป่าชายเลนเพื่อปลูกสำนึกและปลูกปัญญาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

 

Local Wisdom and Development of Vernacular Houses in Phetchaburi Basin: Potential for Community-based Preservation

Ornsiri Panin, Jatupol Angsuvej, Montat Hemapat and Jaroonphan Banjongpark
Faculty of Architecture, Kasetsart University

        The research project “Local Wisdom and Development of Vernacular Houses in Phetchaburi Basin : Potential for Community-Based Preservation”, is one research project in the research program “The study for Conservation and Development of the Built Environment in Phetchaburi Basin”, which stressed the research frame work on cultural ecology, community ecosystem and sustainable architecture. The specific sites of study are in Tayang District, Banlad District, Muang Phetchaburi District and Banlaem District. This research emphasized the settlement and physical conditions of 7 selected communities in relation to Phetchaburi Basin and local wisdom in concerning with their living. The selected types of community are the orchards, rice fields, crops fields, salt farms, shrimp farms and fishery communities. The important issue is to study the different way of living between the community which directly uses the sea natural resources which can be reimbursed by nature and the community which plants and grows crops harmonious to the natural environment, in order to evaluate the possibitity for community-based conservation and development of the vernacular built environment for emphasizing the identity of Phetchaburi, “The Living Historic City” and its valuable cultural landscape. It was found that, among 7 selected communities, the highest potential for community-based conservation and development of vermicular built environment pointed to the fishery community of Ban Bangkunsai, Ban Laem District, the mangrove community and special place for natural nursing of cockle. Strong community-based stresses on preservation of their natural and vernacular built environment to be mangrove forest natural classroom for their youth and people.

Downloads

How to Cite

ปาณินท์ อ., อังศุเวช จ., เหมพัฒน์ ม., & บรรจงภาค จ. (2016). ภูมิปัญญาและพัฒนาการของเรือนพื้นถิ่นลุ่มนํ้าเพชรบุรี : ศักยภาพในการคงอยู่โดยมีประชาชนเป็นฐาน. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 24, 129. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45051

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment