“เสาต้นแรก” : บทเปรียบสัมพัทธ์สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง-จักรวาลวิทยา ระหว่าง ไท-กะเหรี่ยง “First Pole”: A Relativism issue on Built Environment-Cosmology between Tai-Kareng

Main Article Content

Saran Samantarat
Paisan Tepwongsirirat
Ornsiri Panin

Abstract

บทคัดย่อ

ในฐานะพาหะทางวัฒนธรรม องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างบางประการ ได้แก่ ประตู, บันได, แม่เตาไฟ, เสาแรก, กระด้ง และตาแหลว    เป็นต้น มีความชัดเจนในการบรรจุและการถ่ายทอดความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ และปรากฏอยู่ทั้งในกลุ่มไท-ลาวทางตะวันออก และกะเหรี่ยงทางตะวันตกของคาบสมุทร ไม่ใช่เพียงแต่ด้านประโยชน์การใช้สอยเท่านั้น แต่ในแง่การเป็นพาหะของความหมายสำคัญทางวัฒนธรรมหรือจักรวาลวิทยา ภายใต้บริบทของความแตกต่างหลากหลายของภาษาวัฒนธรรมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

บทความนี้เป็นผลการศึกษาเปรียบเทียบวัตถุพาหะเหล่านั้นโดยคัดสรรค์ผลการศึกษาจากการวิจัยเรื่อง ‘พลัดถิ่นที่ย้อนแย้ง’ ซึ่งศึกษากลุ่มชาติพันธุ์พลัดถิ่นไท-ลาวสำเนียงหลวงพระบาง หรือลาวคังในกลุ่มไท-ลาว ในตระกูลภาษาไต-กะได ผนวกกับทบทวนเอกสารทุติยภูมิของไทดำซึ่งมีความเป็นมาดั้งเดิมเช่นเดียวกับกะเหรี่ยงเพื่อเป็นตัวแทนในตระกูลภาษาไต-กะได   และอีกส่วนจากโครงการวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “ ‘เบลาะ/ปลัง’ โรงเรือนพิธีกรรมส่วนรวมของกะเหรี่ยงสะกอร์และกะเหรี่ยงโปว์สำเนียงเหนือ” ซึ่งศึกษากะเหรี่ยง ตัวแทนในตระกูลภาษาทิเบโต-เบอร์มัน โดยเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมพัทธ์  งานวิจัยทั้งสองรวมถึงบทความนี้ใช้ทฤษฎีวิธีวิทยาหลัก ได้แก่ กระบวนการพิธีกรรมปริวัตรสามแบบเทอร์เนอร์ ส่วนจิตสำนึกพลัดถิ่นเป็นเครื่องมือรอง

ผลศึกษาเปรียบเทียบชี้ให้เห็นถึงตำแหน่งแห่งที่, กระบวนรูปแบบปฏิบัติการ และความหมายพิธีกรรมของสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสัมพัทธ์ร่วมกันต่างบรรจุกระบวนการกำหนดสร้างและถ่ายทอดความหมาย ทั้งที่มีร่วมกันและแตกต่างกันของจักรวาลวิทยาในแต่ละกลุ่มวัฒนธรรม โดยจักรวิทยาแบบต้นไม้ความรู้ปรากฏชัดในกลุ่มไท-ลาวและกะเหรี่ยง ส่วนจักรวาลวิทยาแบบต้นไม้แห่งชีวิตปรากฏในกลุ่มกระเหรี่ยง ชวนให้ทบทวนเสาหลักความคิดสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  การศึกษาทบทวนร่วมตัวแทนในสามตระกูลภาษาที่ยังคงเหลือ โดยจะเปิดความเข้าใจร่วมใหม่ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิทัศน์ทางวิชาการของภูมิภาค

Abstract

As cultural meaning carriers, some built environment artifacts have its initial value for cultural code transmitting more than others as door, stair, hearth, first pillar, kradong, talaew and so on. Those same aspects used both in Tai and Karen, not only by its instrumental meaning, but also by its cultural signification, among cultural-dialectic diversity in South-East Asia context.

This paper aims to present the relatively comparison beween Tai and Karen cosmology.  On Tai side, data from a Lungprabang dialect Tai-Lao research “Disaporas Paradox” gathers with rich literature review data from Tai Dam adjusting the origin point to indigeneous Karen represent Tai-Kadai language family.   On Karen side, selected parts of Ph.D. dissertation “‘Blaw’ S’gaw and Pwo Northern Karen Ritual-common Houses” took place as representative of Tibeto-Burman language family.   Both researchs and this paper, entrusted in relativism of knowledge.  Victor Turner’s ‘Ritual Process Analysis’ and its triangulation oporated as major methodology instrument, and minor used ‘Diasporas Consciousness’ take place.

Betwixt, the locality, the process pattern, and the significance, those aspects reveal that both Tai and Karen have common cosmology of ‘Tree of Knowledge’.  However Karen manifest in ‘Tree of Life’cosmology with equilibrium. The results lean to revise some pillar in Architecture foundation. The other three language-families might study more relativism for more understanding to open up new understanding of academic cultural landscape of region.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES