Thai Airways International PCL: Analysis of Aircraft Liquidation

Main Article Content

Vesarach Aumeboonsuke

Abstract

On January 26, 2015, less than two months after his appointment as the new President of Thai Airways, Mr. Charamporn Jotikasthira, received a directive from the Super Board (State Enterprises Policy Commission) concerning the major rehabilitations proposed by the Super Board to reform the loss-accruing and nearly bankrupt state enterprise.  Endorsed by Prime Minister Prayut Chan-o-cha, chairman of the Super Board, the directive set form a reform framework encompassing six strategies that they believed to be essential to turning around the airline, one of Thailand’s largest state enterprises, and restoring its luster as the pride of the Thai people.


Having thus been put on notice of the Super Board’s endorsement, President Charamporn called for a meeting with the management team to discuss the preparation of a proposal for improved operating results that the Super Board had directed be submitted at their next scheduled meeting. The President discussed with responsible managers from various departments possible ways to cooperate with business partners in order to expand the route network, augment the customer base, and improve sales by focusing on service quality, applying new marketing strategies, launching new ticket sales channels, and controlling expenses by improving efficiency in various aspects.  


On the task of developing a fleet strategy for the liquidation of unnecessary aircrafts, the Financial Manager, Mr. Karn (hypothetical name), was assigned by the President to analyze the impact of aircraft liquidation on the company’s future financial performance and present it to the President and management team at their next scheduled meeting on February 17, 2015Upon leaving the management team meeting, Mr. Karn immediately set about collecting the data that would be needed to pursue the assignment.  He did so in the full awareness that he had been given a high-visibility task, the successful performance of which could only bolster his budding career with Thai Airways.


บทคัดย่อ


เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2558 เพียงสองเดือนหลังจากที่คุณจรัมพรเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คุณจรัมพรก็ได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนฟื้นฟูบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน ) จากปัญหาขาดทุนและฐานะทางการเงินที่น่าเป็นห่วง โดยจะมีการปรับกลยุทธ์ ได้แก่ การปรับเส้นทางการบิน ด้วยการหยุดเส้นทางการบินที่ขาดทุนต่อเนื่อง โดยเส้นทางที่ขาดทุนแต่มีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้ ให้ปรับลดจำนวนเที่ยวบิน ส่วนเส้นทางที่พอมีกำไรให้พัฒนาและเพิ่มการบริการ เน้นการเชื่อมต่อเส้นทางบิน โดยการหยุดบินและลดจำนวนเที่ยวบิน และ การขายทรัพย์สินบางส่วน เช่น เครื่องบินในเส้นทางที่ไม่คุ้มค่ากับการดำเนินงานหรือสิ้นเปลืองพลังงานมาก เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดเส้นทางบินที่ขาดทุน โดยเฉพาะเครื่องบินเก่า เพื่อช่วยลดภาระด้านการซ่อมบำรุงและค่าจอดต่าง ๆ  


หลังจากที่ได้รับคำสั่งจาก คนร. คุณจรัมพรก็ได้เรียกประชุมคณะกรรมการผู้บริหารเพื่อหารือถึงการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังของ คนร.  กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้อภิปรายกับผู้จัดการที่มีหน้าที่รับผิดชอบจากหลาย ๆ ฝ่ายถึงหนทางที่จะเพิ่มรายได้โดยพัฒนาคุณภาพของการบริการ ใช้ยุทธศาสตร์ทางการตลาดใหม่ ๆ นำเสนอรายการส่งเสริมการขายใหม่ ๆ และวิธีควบคุมค่าใช้จ่ายโดยพัฒนาประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน


            ในส่วนของการขายเครื่องบินเก่าเพื่อลดภาระด้านการซ่อมบำรุงและค่าจอดต่าง ๆ  นั้น คุณจรัมพรได้มอบหมายให้คุณกานต์ (นามสมมุติ)  ผู้จัดการฝ่ายการเงินเตรียมแผนการวิเคราะห์ผลกระทบของการขายเครื่องบินต่อผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัท  และนำเสนอแผนเพื่อบูรณาการร่วมกับแผนกอื่นๆเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารในการประชุมครั้งต่อไป โดยเน้นไปที่การขายเครื่องแอร์บัส 340-500 จำนวนสี่ลำที่การบินไทยเช่าซื้อมาสามลำในปี 2548 และอีกหนึ่งลำในปี 2550 เพื่อใช้บินเส้นทาง กรุงเทพฯ – นิวยอร์ค และ กรุงเทพฯ – ลอสแองเจลิส เพียงสองปี ก่อนที่จะยกเลิกเส้นทางเนื่องจากพบว่ามีผลดำเนินงานขาดทุนตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการ หลังจากนั้น เครื่องบินสี่ลำนี้ก็ได้ถูกจอดทิ้งไว้ โดยที่มีผู้เสนอซื้อหลายราย แต่ทางการบินไทยก็ไม่อนุมัติการขายโดยให้เหตุผลว่าราคาเสนอซื้อต่ำเกินไป


คุณจรัมพรได้เน้นย้ำว่าการขายเครื่องบินสี่ลำนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนภายในปีนี้โดยแผนการวิเคราะห์การขายเครื่องแอร์บัส 340-500 จะต้องนำเสนอ แนวทางเลือกหลังการปลดระวางเครื่องบิน การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก และผลกระทบของการขายเครื่องบินต่อผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และ อัตราส่วนทางการเงินของบริษัท


กรณีศึกษานี้ได้กล่าวถึง ภาพรวมโดยสังเขปและประวัติของการบินไทย ตามด้วยบทสรุปของข้อมูลการบรรยายและการปฏิบัติการทั้งในระดับโลกและท้องถิ่น (ไทย) ของธุรกิจการบิน รวมทั้งโอกาสเด่นๆ บางโอกาสและการโต้ตอบต่ออุปสรรคต่างๆ ในธุรกิจจากพันธมิตรด้านการบินรายหลักทั้ง 3 ราย  มีข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับผลประกอบการของการบินไทยระหว่างปี 2557 รวมทั้งสถิติเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร (ขาดทุน) และสัดส่วนทางการเงินที่สำคัญ (เช่น อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และ อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์) ย้อนหลัง 3 ปี ในบทนี้ยังเสนอเนื้อหาโดยละเอียดมากขึ้นในเรื่องการปฏิบัติการด้านการเงินของการบินไทย รวมถึงรายได้ ค่าใช้จ่าย และ ฐานะทางการเงินของการบินไทย


            นักศึกษาจะต้องอนุมานบทบาทของคุณกานต์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินและเตรียมแผนการการปลดระวางเครื่องบิน ตามที่กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้มอบหมายไว้โดยพิจารณาถึงปัจจัยและทางเลือกต่างๆในการปลดระวางเครื่องบิน การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก และผลกระทบของการขายเครื่องบินต่อผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และ อัตราส่วนทางการเงินของบริษัท ตอนท้ายกรณีศึกษานี้ผู้จัดการฝ่ายการเงินได้เห็นว่ามีหลายเรื่องที่ต้องลงมือทำในกรอบเวลาที่ค่อนข้างจำกัด เขาจะต้องเตรียมการเพื่อนำเสนอแผนการขายเครื่องบินต่อประธานกรรมการบริหารและคณะกรรมการบริหารสำหรับการประชุมในครั้งต่อไปในสองสัปดาห์หน้า ดังนั้นเขาจึงต้องเริ่มดำเนินการทันที 


 


Article Details

How to Cite
Aumeboonsuke, V. (2018). Thai Airways International PCL: Analysis of Aircraft Liquidation. NIDA Case Research Journal, 9(2), 23–41. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NCRJ/article/view/110919
Section
Case Study