Multiple large shareholders of Thai firms: do they matter?

Main Article Content

Thitima Sitthipongpanich

Abstract

Purpose - The purpose of this paper is to investigate the presence of multiple large shareholders of Thai listed firms and whether the multiple large shareholders affect firm value.

Design/methodology/approach - This paper uses time series ownership data from 2000 to 2008 to identify various attributes of multiple large shareholders. In this panel data analysis, the fixed effects estimator is used.

Findings - Multiple large shareholders are commonly found in Thai listed firms. However, the results show that the presence and identity of the second largest shareholder do not affect firm value. The combination of the first and second largest shareholders is positively related to firm value only when it is formed between family and family. The ability to contest the largest shareholder, measured by both relative power and distribution of power, is not associated with firm value. The role of the largest shareholder in corporate governance seems to be more pronounced than that of other large shareholders. The higher ownership of the largest shareholder strongly increases firm value.

Originality/value - In the setting of concentrated ownership, large shareholders may play an important role in corporate governance. However, other large shareholders may not play an active monitoring role if the largest shareholder is highly influential, and it may not be straightforward for different types of large shareholder to cooperate to improve corporate governance.

 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายรายในบริษัทไทย: มีความสำคัญหรือไม่

วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายรายในบริษัทจดทะเบียนของไทยและผลกระทบของการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายรายต่อมูลค่าบริษัท โดยใช้ข้อมูลผู้ถือหุ้นระยะยาวในการกำหนดลักษณะของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่หลากหลายและใช้การประมาณค่าแบบ Fixed effects งานวิจัยนี้พบว่าผู้เป็นเจ้าของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ในไทยประกอบด้วยผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายราย แต่การมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายรายและประเภทของผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายที่สองไม่มีผลกระทบต่อมูลค่าของบริษัท มูลค่าของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวเป็นทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดและรายใหญ่ลำดับที่สองถึงจะมีค่ามากกว่าบริษัทอื่นๆ ความสามารถที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายอื่นสามารถโต้แย้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดซึ่งวัดจากอำนาจโดยเปรียบเทียบและการกระจายอำนาจไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าของบริษัท ผลของงานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดมีบทบาทมากกว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายอื่น เมื่อส่วนของเจ้าของของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดมีค่ามากขึ้นจะส่งผลให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มมากขึ้นด้วย ในระบบที่การถือครองหุ้นกระจุกตัว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อาจจะมีบทบาทสำคัญในการกำกับและดูแลกิจการ แต่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายอื่นอาจไม่แสดงบทบาทในการควบคุมดูแลเชิงรุกถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดมีอำนาจชี้ขาดในกิจการ และการที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายอื่นๆจากหลากหลายประเภทจะร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมบรรษัทภิบาลให้ดียิ่งขึ้นอาจมีความซับซ้อนไม่สามารถจัดการได้โดยง่าย

 

Article Details

Section
Articles