ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่อพฤติกรรมสุขภาพ ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

ผู้แต่ง

  • Panaprai Chomngam
  • Pakin Chaichuay
  • Nucharin Kaenbubpha
  • Bubphawan Thimviang

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และเพื่อเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กิโลกรัม/ตารางเมตรขึ้นไป จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ Paired t-test และ Independent t-test พบว่า 1) พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมดีขึ้น ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวลดลง 2) คะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.00) คะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเปรียบเทียบหลังเข้าร่วมโปรแกรมและก่อนเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน 3) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.00)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31