รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ บุญมาภิ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ัตันยะ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • กรองทิพย์ นาควิเชตร มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศรุดา ชัยสุวรรณ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

รูปแบบความร่วมมือ, สภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก, รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน และพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและมีส่วนได้ส่วนเสียกับผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 1,932 คน จาก 322 โรงเรียน ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการสนทนากลุ่มย่อยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน ด้านร่วมคิด ด้านร่วมวางแผน ด้านร่วมดำเนินการ และด้านติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน สำหรับความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเกิดจากคุณลักษณะที่ดีของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนลักษณะสำคัญของชุมชน 2. รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน มีองค์ประกอบต่าง ๆ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน หลักความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน หลักการพึ่งตนเองของโรงเรียน และหลักการพัฒนาตนเองของโรงเรียน ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการให้ชุมชน เข้ามาให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และเพื่อนำเสนอแนวทาง ในการนำรูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไปใช้ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตภาคเหนือตอนบน ส่วนที่ 3 สาระสำคัญของรูปแบบ ประกอบด้วย มิติด้านหน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การวางแผนการจัดองค์การ การนำ และการควบคุม กำกับ ติดตาม ในมิติด้านภารกิจการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคลากรและการบริหารงานทั่วไป และในมิติคุณลักษณะของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือ ส่วนที่ 4 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ โดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษาและครู ส่วนชุมชน ขึ้นอยู่กับความตระหนักเห็นความสำคัญ และประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความร่วมมือ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

References

กิตติ กรทอง. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2549). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนดีเด่น โรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
เจตน์สุดา ทศานนท์. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
ชัญญา อภิปาลกุล. (2545). รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษาภายใต้โครงสร้างการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา :สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ชัยนาท อุ่นแก้ว. (2550). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรเอกชนจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นคราชสีมา.
ดิเรก วรรณเศียร. (2545). การพัฒนาแบบจำลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
นาวิน อรุณไพร. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปทุมธานี.
ประชาไท. (2553). รายงาน : ยุบโรงเรียน (ขนาดเล็ก) ของชุมชนทำไม?! เสียงสะท้อนจากชาวบ้านครูและอปท.. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554, จาก http://prachatai.com/journal/2011/05/35145
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ศักดา สถาพรวจนา. (2549). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). รายงานการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สิริณัฐ ปิยะมิ่ง. (2551). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนสหศึกษาอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุระพี อาคมคง. (2550). รูปแบบความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
Brooks, G. D. (1997). “An account of a school/university collaboration leadership, professional development, partnership”. [International Dissertation Abstract]. UNI Co. 1997.University of Pennsylvania, AAC9727009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10