การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน ในการประกอบการวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชิตวรา บรรจงปรุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ศิริสรณ์เจริญ กมลลิ้มสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุชีรา ธนาวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุธิรา เจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน, การประกอบการวิสาหกิจชุมชน, ศักยภาพทางการแข่งขัน, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้กำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองระดับโครงการวิจัยและหนุนเสริมแผนงานวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนและภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง 2) เสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน และ 3) บูรณาการการวิจัยพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ บุคลากรวิสาหกิจชุมชนแห่งละ 3 คน ต่อกลุ่ม จำนวน 32 กลุ่ม รวม 96 คน และบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แห่งละ 2 คน รวม 64 คน จาก 16 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ผู้แทนหน่วยงานภาคีพัฒนา 20 คน และบุคลากรมหาวิทยาลัย 4 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความสามารถในการนำไปใช้พบว่า เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลวิธีเชิงอุปมานโดยการบรรยาย และเชิงปริมาณใช้แบบประเมินความพึงพอใจ ตามวิธีของ Likert 5 ระดับ ทดสอบค่า IOC ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.88-0.93 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อธิบายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า มีลักษณะเด่นด้าน ศักยภาพ ผู้นำ การวางแผน การจัดระบบโครงสร้าง การประสานงานและร่วมเครือข่าย และการจัดสรรประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม จุดแข็งด้านการเป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา มีเอกลักษณ์เฉพาะ ใช้ทรัพยากรในชุมชนเป็นหลัก และมีผู้นำที่มีศักยภาพ พบประเด็นปัญหา การตลาด ระบบการผลิต การสนับสนุนของรัฐ ต้นทุนและราคา แรงงาน ระบบสาธารณูปโภค ความรู้ในเชิงธุรกิจ และความร่วมมือแบบเครือข่าย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้มแข็งของกลุ่ม การตลาด การมีชีวิตด้วยความพอเพียง การจ่ายค่าตอบแทน การสืบทอดภูมิปัญญา/พัฒนาการผลิต การบริหารจัดการและแผนธุรกิจ การเพิ่มความรู้ และการสนับสนุนของส่วนสำหรับการได้ประโยชน์ที่เกิดแก่วิสาหกิจชุมชนและภาคีพัฒนาโดยภาพรวมมีระดับมาก

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร.
กฤษติญา มูลศรี. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการประกอบการวิสาหกิจชุมชนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ (รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์ : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
จิราพร มหาอินทร์ และคณะ. (2554). การดำเนินงานและส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดปทุมธานี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ชฎากาญจน์ เจริญรบ และคณะ. (2551). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ปิยะดา พิศาลบุตร. (2556). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. (2558). รายงานวิสาหกิจชุมชน : ข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา 2556. นครราชสีมา : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา.
สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน. (2553). หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน”. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
สุกัญญา ดวงอุปมา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ (รายงานผลการวิจัย). กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.
สุกัญญา อธิปอนันต์ และคณะ. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Wiersma, W. (1991). Research method in education : an Introduction (5th ed.). USA : Allyn and Bacon.
Gronlund, N. E. (1985). Measurement and Evaluation in Teaching (5th ed.). New York : Macmillan Publishing Co., Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10