รูปแบบการบริหารจัดการเมืองพัทยาที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐาน ของหลักธรรมาภิบาลเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • นพฤทธิ์ จิตรสายธาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จิรายุ ทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วันชัย สุขตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อภิชาติ แสงอัมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศศิธร ศูนย์กลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เมืองพัทยา, หลักธรรมาภิบาล, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการเมืองพัทยาที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนของเมืองพัทยา จำนวน 399 คน และทำการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 70 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเมืองพัทยาที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ขณะที่รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้แก่ด้านหลักนิติธรรม มีการพิจารณาออกคำสั่งและระเบียบต่าง ๆ ตามระเบียบปฏิบัติ ด้านหลักคุณธรรม บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ด้านหลักความโปร่งใส มีการบริหารงานด้วยความถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้านหลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดเห็น ด้านหลักการรับผิดชอบ มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ด้านหลักความคุ้มค่า มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และด้านการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้บริหารระดับสูงควรมีบทบาทในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงงานด้านต่าง ๆ

References

ชนิกานต์ ถาวรยุติการต์. (2550). การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรตามแนวคิด Malcolm Baldrige กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2547). การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการยกระดับการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น People’s Audit. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพัฒนาระบบราชการ.
ธเนศ เธียรนันท์. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
บังอร เบ็ญจาธิกุล. (2557). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.hu.ac.th/Symposium2014/proceedings/ data/3403/3403-6.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สุวีรยาสาส์น.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้. (2546). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สภาบันพระปกเกล้า.
พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล (จักร์แต). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
พระมหาชินวัฒน์ ธมมเสฎโฐ (หาญกุล). (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารจัดการคณะสงฆ์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
เพ็ญภักดิ์ บุรีรัตน์ และ สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2559). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ บุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(1), 63-70.
วรนารี นวนศรี. (2556). การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกรณีศึกษา : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสะเดาจังหวัดสงขลา. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 27-34.
วรากร พุฒิพงศ์พะยอม. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558. วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). แนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2559). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครอุดรธานี. (รายงานการวิจัย). อุดรธานี : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2543). การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance)รายงานประจำปี 2541-2543. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มืออธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร : สิริบุตรการพิมพ์.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักปลัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. (2557). สถิติจำนวนประชากรในเขตเมืองพัทยา ตามทะเบียนราษฎร ปี พ.ศ. 2547-2557. ชลบุรี : ฝ่ายทะเบียนและบัตรประชาชน สำนักปลัดเมืองพัทยา
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2545). “ปาฐกถาพิเศษ” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา). ใน การบรรยาย ณ โรงเรียนนายทหารอากาสอาวุโส สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, 11-12.
Philip, K. (2005). The Politics of Good Governance in the Asean 4. Master Degree Griffith University, Australia.
Taro Yamane. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10