การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ในภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ สุทธสิริ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงษ์ ชวนชม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศรุดา ชัยสุวรรณ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา, ตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในภาคเหนือตอนบน และ 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในภาคเหนือตอนบนกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด มีการดำเนินการวิจัย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ได้ทั้งหมด 7 องค์ประกอบ 63 ตัวบ่งชี้ ตอนที่ 2 กำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการโดยทดลองใช้แบบสอบถามสำรวจการดำเนินการตามตัวบ่งชี้จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 69 โรงเรียน รวม 414 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ประกอบเชิงสำรวจ หมุนแกนออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ซึ่งพิจารณาจากค่าไอแกนในแต่ละองค์ประกอบ ปรับแก้ได้องค์ประกอบใหม่ 8 องค์ประกอบ 50 ตัวบ่งชี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 72.40 และ ตอนที่ 3 ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพ ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ จากโรงเรียนที่มีคะแนนสอบระดับชาติอยู่ในเกณฑ์ดี และเป็นโรงเรียนชั้นนำของจังหวัดในภาคเหนือตอนบน จำนวน 30 โรงเรียน รวม 90 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงแบบที ด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ มี 8 องค์ประกอบ 50 ตัวบ่งชี้ คือ การเตรียมความพร้อมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มี 16 ตัวบ่งชี้ การนำผลการดำเนินการไปปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มี 7 ตัวบ่งชี้ การดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มี 5 ตัวบ่งชี้ การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มี 7 ตัวบ่งชี้ การสร้างความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มี 5 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาบุคลากรทางการสอน มี 4 ตัวบ่งชี้ การกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการหลักสูตรสถานศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ และการจัดสรรงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ในการบริหารหลักสูตร มี 3 ตัวบ่งชี้ 2. ตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ มีความเที่ยงตรงทุกตัว

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2545). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2555). สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. (บรรณาธิการ). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
Likert, R. (1970). The Human Resources : Cases and Concept. New York : Institute of Public Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10