ผลการศึกษาพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมโดยใช้เทคนิค DIR FLOORTIME

ผู้แต่ง

  • พัชราวดี เมืองหงส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รุ่งรัตน์ ศรีอำนวย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

DIR ฟลอร์ไทม์, เด็กที่มีภาวะออทิสซึม, พัฒนาการแบบองค์รวม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมโดยใช้เทคนิค DIR floortime 2) เปรียบเทียบพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมก่อนและหลังการใช้เทคนิค DIR Floortime กลุ่มตัวอย่างคือเด็กที่มีภาวะออทิสซึม จำนวน 3 คน ที่มีพัฒนาการอยู่ในขั้นที่ 1 ไม่เต็มขั้น มีอายุระหว่าง 2-8 ปี ของคลินิกส่งเสริมพัฒนาการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามพัฒนาการด้านสื่ออารมณ์และสติปัญญาของเด็ก 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 3) เครื่องบันทึกวีดีทัศน์ และ 4) บันทึกพฤติกรรมรูปแบบ STAR การทดลองใช้ระยะเวลา 1 ภาคเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ของพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค DIR Floortime เด็กที่มีภาวะออทิสซึมทุกกรณีศึกษา มีพัฒนาการแบบองค์รวมเพิ่มสูงขึ้น จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าครูและผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะออทิสซึมควรนำเทคนิค DIR Floortime ไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีภาวะออทิสซึมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2553). คู่มือการพัฒนาเด็กออทิสติก แบบองค์รวม (เทคนิคDIR/ฟลอร์ไทม์). กรุงเทพมหานคร : พิมพ์สี.
กิ่งแก้ว ปาจารีย์ และ แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ. (2555). จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพมหานคร : แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย.
ผดุง อารยะวิญญ. (2546). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพมหานคร : รำไทยเพลส.
พุทธิตา (นามปากกา). (2550). บูรณาการเพื่อลูกออทิสติก. กรุงเทพมหานคร : แฮปปี้แฟมิลี่.
อิสรีย์ เขื่อนสุวรรณ. (2552). การออกแบบโปรแกรมสงเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกตามหลักการของดี ไออาร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.
American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). Arlington, VA : American Psychiatric Publishing.
Casenhiser, D. M., Shanker, S. G., & Stieben, J. (2013). Learning through interaction in children with autism: Preliminary data from a socialcommunication-based intervention. Autism.
Greenspan, S. I., & Wieder, S. (1998). The child with special needs : encouraging intellectual and emotional growth. New York : Da Capo Lielong Books.
Greenspan and Wieder. (2002). Tha functional emotional deveiopmentel questionnaires. แปลโดยกิ่งแก้ว ปาจารีย์. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์สี.
Joyce, W. S. Mok, & Chung, K. H. (2014). Application of DIR/Floortime Model in the Psychiatric Service for Very Young Children with Autism in Hong Kong. Hong Kong Journal of Mental Health, 40(1), 23-30.
Kasari, C., Paparella, T., Freeman, S., & Jahromi, L. B. (2008). Language outcome in autism: Randomized comparison of joint attention and play interventions. Journal of Consulting Clinical Psychology, 76(1), 125-137.
Mancil, G. R., Conroy, M. A., & Haydon, T. F. (2008). Effects of a modified milieu therapy intervention on the social communicative behaviors of young children with autism spectrum disorders. Journal of Autism and Developmental Disorders. Retrieved January 14, 2009 from http://www.springerlink.com
Solomon, R., Necheles, J., Ferch, C., & Bruckman, D. (2007). Pilot study of a parent training program for young children with autism: The PLAY Project Home Consultation program. Autism.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10