การศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิวรรณทอง ผิวทน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ธีระ รุญเจริญ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • กิตติ วงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การรับรู้, ผู้บริหารมืออาชีพ, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้และเปรียบเทียบการรับรู้ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ประชากรเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 587 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้จำนวน 230 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบ หาค่าความสอดคล้องได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมทุกด้าน 0.98 และรายข้ออยู่ระหว่าง 0.84-0.95 ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลระดับการรับรู้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแปรปรวนด้วยวิธี One-Way ANOVA (F-test) และทดสอบรายคู่ ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการรับรู้ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านวิสัยทัศน์และศักยภาพ ด้านจิตสำนึกสาธารณะ ด้านจิตสำนึกจริยธรรม และด้านการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน ส่วน ด้านการมีแนวคิดในการบริหาร แตกต่างกัน สำหรับ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา มีการรับรู้ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กองการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. (2559). ข้อมูลพื้นฐาน ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559, จาก http://www.koratpao.go.th/
จิรินทร์ แสกระโทก. (2551). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ณัฐพงศ์ ศรีสง. (2551). คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุรีวิทยาสาส์น.
พิสิทธิ์ คำชนะ. (2552). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ไพศาล หวังพานิช. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารจากประสบการณ์ของศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ในการบริหารการศึกษานักบริหารมืออาชีพ. นนทบุรี : พินธุพันธ์การพิมพ์.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ส.เอเชียเพลส.
เสาวภา สัมพูล. (2555). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
เหมรัฐ อินสุข, นิรุตติ ครุฑหลวง และ สมชาติ บุญมัติ. (2552). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศกึษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
Bottoms, G., et al. (2003). Good Principal are the Key to successful School: Six Strategies to Prepare More Good Principals, Southern Regional. Education Board, Atlanta. Retrieved April 21, 2003, from http://www.sreb. Org/programs/hstw/publications/pubs/03V03_GoodPrincipals.pdf
Duke, D. L. (2007). School Leadership and Instructional Improvement. New York: Random House.
Eager, J. H. (1987). Identification of Key Strategies for School Effectivness and How They are Implemented as Perceived by Administrators and Teachers in Selected Exemplary Private Secondary School. Dissertation Abstracts. International, 48(5), 1205-A.
Liu, Ching-Jen. (1985). “An Identification of Principals’ Instructional Leadership Behaviors in Effective Hight School”. Dissertation Abstracts. Internationsl, 34(6), 861-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10