รูปแบบการให้การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • กิจฐเชต ไกรวาส มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อนุจิตร ชิณสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เฉลิม เกิดโมลี มหาวิทยาลัยเกริก
  • สกุล วงษ์กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ชัยวัฒน์ ร่างเล็ก มูลนิธิการพัฒนาเมืองและชนบทไทย
  • อาภาภรณ์ สุขหอม มูลนิธิการพัฒนาเมืองและชนบทไทย

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้การศึกษาทางการเมือง, การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบและวิธีการให้การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยจากต้นแบบที่ดีทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้กระบวนการให้การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในชุมชนต้นแบบที่ดีเกิดประสิทธิผล และการพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคในการให้การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในชุมชนต้นแบบที่ดี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ในประเทศต้นแบบที่ดีทั้งจากกลุ่มประเทศตะวันตกและทวีปเอเชียที่ผ่านการจัดอันดับความเป็นประชาธิปไตยใน 50 อันดับแรก จำนวน 5 ประเทศ ประกอบด้วย 1) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ 2) ราชอาณาจักรสวีเดน 3) สหพันธรัฐเยอรมนี 4) ญี่ปุ่น และ 5) สาธารณรัฐเกาหลี และชุมชนต้นแบบที่ดี 4 ภาคของประเทศไทย คือ 1) ชุมชนในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 2) ชุมชนบ้านเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 3) ชุมชนบ้านชากตาด้วง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และ 4) ชุมชนทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง กำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มตัวแทนนักเรียนชุมชน ๆ ละ 10 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน ๆ ละ 5 คน รวม 60 คน ใช้วิธีประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มผู้บริหารและครูของสถานศึกษาในชุมชน ๆ ละ 5 คน และกลุ่มผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนละ 5 คน รวม 40 คน ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า 1) รูปแบบและวิธีการการสอนที่ถูกบรรจุไว้ในรายวิชาหน้าที่พลเมืองและรูปแบบกิจกรรมพิเศษของประเทศไทยคล้ายกับราชอาณาจักรนอร์เวย์และญี่ปุ่น สำหรับรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานชุมชนของประชาชนคล้ายกับราชอาณาจักรสวีเดนและประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในกลุ่มเยาวชน คือ โรงเรียนมีการสอดแทรกเนื้อหาการสร้างความเป็นพลเมืองไว้ในหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ และ สภานักเรียนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นพลเมืองให้แก่นักเรียน สำหรับกลุ่มประชาชนคือ ประชาชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนเป็นอย่างมาก และ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในกลุ่มเยาวชน คือ ระบบการศึกษาและครอบครัวยังให้ความสำคัญกับวิชาการมากกว่ากิจกรรม และ สื่อที่ให้ความรู้การสร้างความเป็นพลเมืองยังมีน้อยและเข้าใจยาก สำหรับกลุ่มประชาชนคือ ขาดหน่วยงานเข้ามาให้ความรู้และช่วยขับเคลื่อนกิจกรรม และชาวบ้านส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการเข้าร่วมกิจกรรม

References

กรภัค จ๋ายประยูร. (2549). การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชนด้านความเป็นประชาธิปไตย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
กิจฐเชต ไกรวาส. (2560). การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในชุมชนต้นแบบที่ดี : กรณีศึกษาชุมชนชากตาด้วง ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 “มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม...พลังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0” ประจำปี พ.ศ. 2560. (หน้า 400-414). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ. (2556). การศึกษารูปแบบประชาธิปไตยชุมชน. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง.
มูลนิธิการพัฒนาเมืองและชนบทไทย. (2559). การศึกษารูปแบบการให้การศึกษาทางการเมืองเพื่อ สร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพฯ : สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า.
รงค์ บุญสวยขวัญ. (2557). การเมืองภาคพลเมือง : ทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างตัวชี้วัดหรือตัวบ่งบอกการเมืองของพลเมือง, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 หน้า 121–140.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.
ลัดดาวรรณ์ สุขใหญ่. (2551). ความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ : ศึกษาเปรียบเทียบประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองกับอำเภอดอยสะเก็ด. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เลิศพร อุดมพงษ์. (2558). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic/Citizenship Education) ในการส่งเสริมบทบาทของภาคพลเมืองในการเมืองระบบตัวแทน : แนวทางที่ยั่งยืนผ่านประสบการณ์จาก ต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559. จาก http ://kpi.ac.th
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. มติชน ฉบับที่ 3 มีนาคม 2554.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2548). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี การพิมพ์.
สำนักนโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา สภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพบเมือง พ.ศ. 2553-2561. วารสารการศึกษาไทย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 79 (เม.ย. 2554),
น. 17-25.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2551). การเมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
Campbell, D.F. J., Polzlbauer, P., Barth, T.D. and Polzlbauer, G. (2015). The Democracy Ranking 2015. Vienna : Democracy Ranking.
EURYDICE Network. (2002). Citizenship Education across Europe. EURYDICE. Retrieved June 16, 2014, from http ://www.nfer.ac.uk/shadomx/apps/fms/fmsdownload.cfm?file_uuid =A9819AB3-C29E-AD4D-0CBA-D26D06213E94&siteVame=nfer
Lindstrom, L. (2013). Citizenship Education from a Swedish Perspective. Journal of Studies in Education. 3(2), pp. 20-39.
Stray, J.H. (2009). Education for democratic citizenship in Norway. Retrived May 8, 2016, from https ://wwwioe.ac.uk/about/document/about_Overview/Stray_J.p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10