บริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ อย่างไรให้สำเร็จ?

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • วรางคณา จันทร์คง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ชมรมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ และจากการคาดประมาณจำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2565 จะมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 20.55 ของประชากรทั้งหมดแสดงว่าอีกไม่นานประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ทั้งนี้ในการรองรับสังคมผู้สูงอายุควรมีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืน เพราะการรวมกลุ่มมีประโยชน์ต่อสมาชิกทั้งในทางด้านร่างกายและจิตใจ สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจากเป็นการบูรณาการของความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของสมาชิก จะส่งผลให้เป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลัง (Active ageing) ในการรวมกลุ่มผู้สูงอายุนั้นชมรมผู้สูงอายุถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการที่จะดำเนินกิจกรรมผู้สูงอายุเพราะการเป็นชมรมผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างผู้สูงอายุในชุมชนและระหว่างชมรมนอกชุมชน และการเป็นชมรมจะมีระเบียบหรือข้อบังคับของชมรมที่ให้สมาชิกถือปฏิบัติ ชมรมผู้สูงอายุจึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในชุมชน แต่ที่ผ่านมาชมรมผู้สูงอายุที่ได้จัดตั้งขึ้นมาสามารถดำเนินการได้และมีกิจกรรมที่ต่อเนื่องมีประมาณครึ่งหนึ่งของชมรมทั้งหมด เนื่องจากมีปัญหาในการบริหารจัดการในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็มีหลายชมรมที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้ชมรมผู้สูงอายุประสบความสำเร็จสามารถแยกเป็น 4 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านคณะกรรมการ ปัจจัยด้านสมาชิก และ ปัจจัยด้านกิจกรรมของชมรม

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ.
_______. (2560). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2560, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/ knowledge_th_20170707092742_1.pdf
_______. (2561). รายชื่อ ศพอส. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2561, จาก http://www.dop.go.th/download/ formdownload/th1518149185-809_4.pdf
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ประชากรสูงอายุอาเซียน. เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระแส ชนะวงศ์, วีณา ศรางกูร ณ อยุธยา และ ทิพวัลย์ ด่านสวัสดิกุล. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืน และต่อเนื่องของชมรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6, 136-141.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร : เทพเพ็ญวานิสย์.
จรีนุช จินารัตน์. (2546). การดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ของชมรมผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2561, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
ธร สุนทรายุทธ์. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : เนติกุล.
บรรลุ ศิริพานิช และคณะ. (2542). ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร : สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย.
พงษ์ศิริ ปรารถนาดี. (2560). ชมรมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://hp.anamai.moph.go.th/ download/ผู้สูงอายุ/Meeting10_13Dec.2556/12.Dec.2556/6
พันนิภา บุญจริง. (2557). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ ตำบลธาตุน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2561, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2555). ลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : เจ.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2561). ปฏิญญาผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก http://senate.go.th
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ. (มปป.). คู่มือชมรมผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพมหานคร : เดือนตุลา.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุ. (2556). คู่มือดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : เทพเพ็ญวานิสย์.
United Nations. (2015). World Population Ageing 2015. . New York : Department of Economic and Social Affairs Population Division.
World Health Organization. (2002). Active Ageing : A Policy Framework. Geneva : World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01