ตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ พร่องพรหมราช โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ตัวแปรเชิงสาเหตุ, พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์, การวิเคราะห์เส้นทาง, โมเดลสมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,000 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 8 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ แบบสอบถามอิทธิพลของสื่อ แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและผ่าฟันอุปสรรค แบบวัดเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ มีค่าความเที่ยงของแบบวัดเท่ากับ 0.96, 0.92, 0.93, 0.94, 0.92, 0.91, 0.95 และ 0.92 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling : SEM) ด้วยสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) แบบมี ตัวแปรแฝง (Latent variable) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. โมเดลตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ 2=325.05, df=283, 2/df=1.12, p=0.09, CFI=0.99, GFI=0.97, AGFI=0.96, RMSEA=0.01, RMR=0.02 2. เมื่อพิจารณาตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ คือ เจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การรับรู้ความสามารถของตนเอง และอิทธิพลของสื่อ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ คือ ความสามารถในการเผชิญและผ่าฟันอุปสรรค และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ซึ่งตัวแปรในโมเดลทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนได้ร้อยละ 85.00

References

กรมสุขภาพจิต. (2553). “บทความด้านสุขภาพจิตและจิตเวช”. แนวคิดทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูลูก. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก http://www.dmh.moph.go.th/news/view.asp?id=969
ภควดี อาจวิชัย. (2551). การเปรียบเทียบพฤติกรรมบริโภคนิยมและเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดมุกดาหารที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและมีความเชื่อมั่นในตนเองแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2554). AQ กับความสำเร็จในชีวิต”. วารสารวิชาการ, 4(9), 13-14.
มาศฤดี ศรีวิเศษ. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อเจคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 2 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมินการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ลักขณา สริวัฒน์. (2554). จิตวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
สร้อยวลัย สุขดา. (2543). การศึกษาค่านิยมทางเพศและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สลิตตา วงศ์ษาพาน. (2553). การเปรียบเทียบความทุ่มเทในการเรียนและทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 1 ที่มีระดับความเชื่อมั่น และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). รายงานสถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไทย. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก www.m-society.go.th
สำนักงานมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2560, จาก http://www.secondary.obec.go.th/information.25469=17
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2551) “ทัศนคติกับพฤติกรรม กรณีวัยรุ่นกับเซ็กซ์.” สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2559, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=43951&grpid=01&catid=16
Bandura, A. (1986). Social Foundations of Though and Action : A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, N. J. : Prentice-Hall.
Hair. J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Date Analysis (7th ed.). New York : Pearson.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New Jursey : Person Education, Inc.
Salovey, P., & Mayer, J. D. (1990). “Emotional intelligence,”. Imagination, cognition and personality. New York : Basic Books.
Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient : Turning obstacles into opportunity. New York : John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01