บทบาทของผู้ปกครองคนไทยในการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มยุรา วิริยเวช มหาวทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วาสนา ศรีปรัชญาอนันต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พุทธชาด อังณะกรู มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

บทบาทผู้ปกครองคนไทย, เด็กปฐมวัย, การส่งเสริมทักษะการฟังและการพูด, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาใน 2 ประเด็นคือ บทบาทของผู้ปกครองคนไทยในการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย และ บริบทที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยเชิงกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ปกครองคนไทยที่มีอายุมากกว่า 18 ปี มีบุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์อย่างน้อย 1 ปี ใช้วิธีการคัดเลือกอาสาสมัครแบบก้าวหน้า จำนวน 3 คน ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่เจาะจงร่วมกับการสังเกตอย่างใกล้ชิด ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปมัยโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมที่โรงเรียนเพื่อส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่เด็กเรียน มีโอกาสได้เห็นพัฒนาของเด็กที่โรงเรียน และ การมีส่วนร่วมที่บ้านของผู้ปกครองประกอบด้วยกิจกรรมที่ผู้ปกครองจัดขึ้นเอง กิจกรรมและโปรแกรมเสริมพัฒนาการโดยสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหรือกิจกรรมหลังเลิกเรียนที่โรงเรียน สำหรับ บริบทที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมี 3 ประการ คือ 1) ความเชื่อในบทบาทการมีส่วนร่วมของตนเองเป็นแรงจูงใจให้ผู้ปกครองทำในสิ่งที่ควรทำเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กประสบความสำเร็จในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ 2) ผู้ปกครองรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่โรงเรียนและพร้อมที่จะตอบรับการเชื้อเชิญให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมรวมทั้งการเป็นอาสาสมัครทำกิจกรรมในห้องเรียน การเข้าร่วมชมการแสดง การเป็นวิทยากรสาธิตหรือให้ความรู้ และ 3) ผู้ปกครองที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวมีความยืดหยุ่นในเวลาการทำงานจึงสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเด็กได้มากกว่าผู้ปกครองที่เป็นพนักงานประจำหรือที่มีข้อจำกัดด้านเวลา

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2544). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : เอดิสัน เพรสโพรดักส์.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติธร ปิลวาสน์. (2559). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมีองค์ประกอบอย่างไร?. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2559, จาก http://tammkru.com/
ปิยนุช ทองทั่ว. (2552). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนไทยในการส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนนานาชาติ หลักสูตรประเทศอังกฤษ ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารหารศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
โรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์. (2559). จำนวนนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์. อัดสำเนา.
วรวรรณ เหมชะญาติ. (2542). เด็กที่รู้สองภาษาในสหัสวรรษใหม่. วารสารครุศาสตร์, 28, 28-36.
วราภรณ์ รักวิจัย. (2540). การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2539). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
_______. (2544). การประชุมสมัชชาการปฏิรูปการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทและยุทธศาสตร์พ่อแม่ ผู้ปกครองเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อารี สัหฉวี. (2537). นวัตกรรมการสอนแบบธรรมชาติ. ใน ใบประมวลสาระวิชาชุดวิชาสัมมนาปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4-7. กรุงเทพมหานคร : สมาคมเพื่อพัฒนาเด็ก.
Goodman, K. S. (1986). What's Whole in Whole Language? A Parent/Teacher Guide to Children's Learning. Portsmouth, NH : Heinemann.
Hoover-Dempsey, K. V., & Sandler, H. M. (1997). Why do parents become involved in their children’s education?. Review of Educational Research, 67(1), 3-42.
Lee, Y. (2010). Parents’ Perceived Roles and Home Practices in Supporting Taiwanese Children’s English Language and Literacy Learning. English Teaching & Learning, 34(1), 1-53.
Stake, R. E. (1998). Case Study Methods Education Research: Seeking Sweet Water. In R.M. Jaeger (Ed.), Complementary Method for Research in Education. Washington, DC : American Educational Research Association.
The Asiaparent Thailand. (2559). ช่วยลูกปรับตัวเข้าโรงเรียนนานาชาติ. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2559, จาก https://th.theasianparent.com
Valette, R. M., & Disck, R. S. (1972). Modern language performance objectives and individualization : A handbook. New York, NY : Harcourt Brace Jovanovich.
Walker, J. M., Wilkins, A. S., Dallaire, J. R., Hoover-Dempsey, K. V., & Sandler, H. M. (2005). Parental Involvement: Model Revision through Scale Development. The Elementary School Journal, 106(2), 85-104.
Yin, R. K. (2003). Case Study Research: Design and Methods (3rd ed.). Thousand Oaks, CA : Sage Publications, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01